ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

LogoThai.COM
LOGOthai.com

คลิกที่นี่ -->> เปรียบเทียบทำเลและราคาที่ดินวังน้ำเขียวผ่าน GooleMAP | คลิกที่นี้ -->> Upload ภาพ

  แสดงกระทู้
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 21
256  สารสนเทศน่ารู้ ตลาดสด บันเทิงกระจาย / ตลาดเศรษฐี / กสทช. จับมือตำรวจ เปิดบริการ SMS 191 แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย เมื่อ: 20 มกราคม 2556 20:13:47
กสทช. จับมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และโอเปอเรเตอร์ทั้ง 5 ราย เปิดตัวบริการ SMS 191 หรือการแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายผ่าน SMS ไปยังหมายเลข 191 นอกเหนือไปจากการโทรแจ้งตามปกติ

กระบวนการรับแจ้งคือ SMS จะเข้าไปที่ศูนย์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แล้วส่งเรื่องต่อไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ (กระบวนการเดียวกับการโทรแจ้ง 191 ที่สายจะเข้าไปที่ศูนย์ 191 อยู่แล้ว) โดยงานนี้ กสทช. มอบทุนช่วยสนับสนุนโครงการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วย 500,000 บาท

การส่ง SMS เข้าเบอร์ 191 ไม่คิดค่าบริการครับ
257  สารสนเทศน่ารู้ ตลาดสด บันเทิงกระจาย / พัฒนาระบบและสาระน่ารู้ / ภาพรวมโปรแกรมOnlineทะเบียนพระ เมื่อ: 20 มกราคม 2556 14:48:27
หน้าตาโปรแกรม






1.ปุ่มเมนู พระ
เข้าไปเพิ่มเติม แก้ไข ประวัติพระ อันประกอบด้วยข้อมูลหลัก 2 ส่วนคือ
1.ส่วนข้อมูลที่มีค่า 1 ค่า เช่น
  • ชื่อ-ฉายา
  • ชื่อสมณศักดิ์
  • นามสกุล
  • วันเดือนปี เกิด วันเดือนปี บวช
  • เบอร์โทรศัพท์
  • วัดที่สังกัดตอนนี้
  • ฯลฯ

2.ส่วนข้อมูลที่มีค่ามากกว่า 1 ค่า เช่น
  • ตำแหน่งการปกครอง 1รูปเป็นได้หลายตำแหน่ง เช่น เป็นเจ้าอาวาส วัดไหน วันเดือนปีที่ได้รับแต่งตั้ง
  • สมณศักดิ์ เก็บประวัติตั้งแต่ได้รับแต่ละชั้น เช่น เป็นพระครูเจ้าคณะตำบลชั้นโท ชั้นเอก เมื่อไหร่
  • การศึกษาทางธรรม มีบาลี และนักธรรม เก็บชั้นที่สอบได้ เลขที่ สำนักเรียน
  • การศึกษาทางโลก ระดับที่ผ่าน คณะ สถานบัน

VDO แนะนำการแก้ไขประวัติ พระ คลิกที่นี่ -->>




2.ปุ่มเมนู วัด
เข้าไปเพิ่มเติม แก้ไข ประวัติวัด และกรองข้อมูลวัด กรองข้อข้อมูลพระ ดูเป็นอำเภอ ดูเป็นตำบล
ว่าในแต่ละอำเภอมีกี่วัด ใครเป็นเจ้าอาวาสในแต่ละวัด
และในแต่ละตำบล แต่ละเขต มีกี่วัด ใครเป็นเจ้าอาวาสในแต่ละวัด

รายละเอียดข้อมูลวัดประกอบด้วย
  • ชื่อวัด
  • วันที่อนุญาตให้ตั้งวัด
  • วันที่ได้รับวิสุงคามสีมา
  • บ้านนเลขที่ ชื่อหมู่บ้าน หมู่ที่
  • ประเภทเอกสารสิทธิ์ที่ดิน รายละเอียด
  • สังกัดตำบลไหน เขตไหน ซึ่งตรงนี้ต้องเชื่อมโยงกับรหัสตำบลที่เตรียมไว้เท่านั้น
  • ถ่ายภาพวัด สแกนเอกสารสำคัญของวัด อัพโหลดเก็บเข้าประวัติในแต่วัดได้ไม่จำกัด
  • ฯลฯ
ในเมนูนี้สามารถพิมพ์ประวัติพระทั้งหมดในแต่ละอำเภอ เป็นเอกสาร (PDF)  และไฟล์ Excel ได้
และทำหนังสือทำเนียบพระสังฆาธิการในจังหวัด ออกมาเป็นหนังสือได้เลยโดยดึงข้อมูล
ประวัติพระ ประวัติวัด ออกมาด้วยการคลิกเพียงไม่กี่ครั้ง


VDO แนะนำการแก้ไขประวัติ วัด คลิกที่นี่ -->>
VDO แนะนำภาพรวมการแก้ไขประวัติ วัดและพระ คลิกที่นี่ -->>





3.ปุ่มเมนู ตำบล
เข้าไปเพิ่มเติม แก้ไข ตำบล และเขต การปกครองคณะสงฆ์ โดยเชื่อมโยงด้วยรหัสอำเภอเท่านั้น
พอเข้าสู่เมนูตำบล จะเห็นตำบล และเขตทั้งหมด ในแต่ละอำเภอ ของจังหวัดที่ผู้ใช้งานมีสิทธิ์เข้าถึงได้เท่านั้น
และตำบล และเขต ผู้ใช้ทั่วไปไม่สามารถเพิ่ม แก้ไขได้ ต้องให้ผู้มีสิทธิ์แก้ได้เท่านั้นทำการแก้ไขให้
และจะเห็นอีกว่า "พระรูปใดดำรงตำแหน่งระดับตำบลบ้าง"





4.ปุ่มเมนู อำเภอ
เข้าไปเพิ่มเติม แก้ไข อำเภอ โดยเชื่อมโยงด้วยรหัสจังหวัดเท่านั้น
พอเข้าสู่เมนูอำเภอ จะเห็นอำเภอทั้งหมด ของจังหวัดที่ผู้ใช้งานมีสิทธิ์เข้าถึงได้เท่านั้น
และอำเภอ ผู้ใช้ทั่วไปไม่สามารถเพิ่ม แก้ไขได้ ต้องให้ผู้มีสิทธิ์แก้ได้เท่านั้นทำการแก้ไขให้
และจะเห็นอีกว่า "พระรูปใดดำรงตำแหน่งระดับอำเภอบ้าง"





5.ปุ่มเมนู จังหวัด
เข้าไปเพิ่มเติม แก้ไข จังหวัด
พอเข้าสู่เมนูจังหวัด จะเห็นจังหวัดทั้งหมด เฉพาะผู้ดูแลระบบเท่านั้นถึงจะเข้าได้
และจะเห็นอีกว่า "พระรูปใดดำรงตำแหน่งระดับจังหวัดบ้าง"





6.ปุ่มเมนู เพิ่มผู้ใช้งานระบบ
เข้าไปเพิ่มเติม แก้ไข ออกรหัสผ่านให้ผู้ใช้งาน และกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล โดยมีระดับดังนี้

  • ผู้ดูแลระบบและระดับ มส. ทำได้ทุกอย่าง
  • ระดับหน เพิ่มแก้ไข พระและวัดได้เฉพาะจังหวัดในเขตหนของตน
  • ระดับภาค เพิ่มแก้ไข พระและวัดได้เฉพาะจังหวัดในเขตภาคของตน
  • ระดับจังหวัด เพิ่มแก้ไข พระและวัดได้เฉพาะจังหวัดของตน
  • ระดับอำเภอ เพิ่มแก้ไข พระและวัดได้เฉพาะอำเภอของตน





7.ปุ่มเมนู ฎีกากำหนดรายละเอียดงาน
เข้าไปเพิ่มเติม แก้ไข รายละเอียดกิจกรรมงานต่างๆ ที่จะให้นิมนต์พระ ประกอบด้วย
  • ชื่องาน
  • วันเดือนปีจัดงาน
  • สถานที่
  • รายละเอียด
  • ฯลฯ
สมมุติเช่น มหาเถรสมาคมร่วมกับรัฐบาลต้องการจัดงาน "ทำบุญประเทศปีใหม่นิมนต์พระ30,000องค์"
ก็เข้ามาสร้างกิจกรรมในเมนูนี้ก่อน





8.ปุ่มเมนู กำหนดจำนวน
หลังจากสร้างกิจกรรมในเมนูที่ 7 แล้ว ก็เข้ามากำหนดจำนวนพระที่จะให้แต่ละจังหวัดนิมนต์
เช่น จังหวัดนี้ 1,000รูป จังหวัดโน้น 200รูป
การนิมนต์ก็ทำโดยการ ผู้ใช้เข้าไปที่เมนูพระ ก็จะมีกิจกรรมที่สร้าง และจำนวนตามกำหนดให้จังหัดนั้นๆโผล่ไปให้เห็น
จะนิมนต์พระรูปใดก็เข้าไปในประวัติพระรูปน้้น หรือจะเลือกดูพระเป็นอำเภอ เป็นตำบล แล้วก็ติ๊กเลือกเลยก็ได้
ยอดทุกอย่างก็จะคำนวณออกมาให้เองว่า นิมนต์ใครไปบ้าง ขาดเหลือจากยอดที่ให้นิมนต์อยู่เท่าไหร่

ส่วนกลางจะสามารถรับรู้ข้อมูลการนิมนต์พระในกิจกรรมนี้ได้ในขณะนั้นๆทันที ทำให้เอาข้อมูลนี้ไป
บริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างสูงสุด

สำหรับฎีกา จะให้ส่วนกลางพิมพ์ก็ได้ หรือจะให้จังหวัดพิมพ์ก็ได้ เพื่อเป็นหลักฐาน





9.ปุ่มเมนู ลงทะเบียน
เมื่อพระที่ได้รับนิมนต์ได้รับฎีกาซึ่งเป็นกระดาษที่มีบาร์โค๊ต หรืออาจจะเป็น QR โค๊ตเก็บไว้ในอุปกรณ์มือถือ
วันงานก็เอาหลักฐานนั้นมาลงทะเบียน โดยการยิงบาร์โค๊ต หรือสแกน QR





10.ปุ่มเมนู ตั้งค่าระบบ
เป็นการเข้าไปตั้งค่าระบบทั้งหมด ที่ในเมนูต่างๆใช้อ้างอิง ซึ่งจะเข้าได้เฉพาะผู้ดูแลระบบเท่านั้น
ตอบตอบ ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
258  สารสนเทศน่ารู้ ตลาดสด บันเทิงกระจาย / ตลาดเศรษฐี / ทำกระดาษโน๊ตด้วยโปรแกรม Notepad ..! เมื่อ: 20 มกราคม 2556 08:47:53
ทำกระดาษโน๊ตด้วยโปรแกรม Notepad ..!


ทริคเล็กๆกับโปรแกรมสามัญประจำเครื่อง Notepad
สามารถดัดแปลงเป็นบันทึกประจำวันได้แบบง่ายๆ อย่างที่ท่านคาดไม่ถึง

เปิด Notepad ขึ้นมาครับ แล้วพิมพ์คำว่า .LOG ในบรรทัดแรก
เสร็จแล้วก็ตั้งชื่อไฟล์ตามต้องการ และ Save as type > .text


ลองเปิดดู Notepad อันที่เราเซฟไว้ครับ
ทุกครั้งที่เปิดจะแสดงวันเวลา ณ ปัจจุบันเสมอ
259  ขายที่ดิน / ที่ดิน(ทั่วไป) / Re: เอกสารสิทธิ์ที่ดิน ประเภทต่างๆ เมื่อ: 19 มกราคม 2556 19:43:46
โฉนด
แปลว่า [ฉะ-โหฺนด] น. หนังสือคู่มือสำหรับถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน.

source : อ.เปลื้อง ณ.นคร

โฉนด : [ฉะโหฺนด] น. หนังสือสําคัญของทางราชการแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน, ก่อนนี้ถ้าเป็นสวนปลูกไม้ยืนต้น เรียกว่า โฉนดสวน, ถ้าเป็นสวนไม้ล้มลุก เรียกว่า โฉนดป่า, เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๔ เริ่มออกโฉนดแบบใหม่โดยวิธีรังวัดปักหลักเขตลงในที่ดินด้วยหมุดหลักฐานการแผนที่ และแสดงรูปแผนที่ที่ดินนั้นลงไว้ในโฉนดด้วย เรียกว่า โฉนดแผนที่; หนังสือ เช่น ออกโฉนดบาดหมายให้แก่ราชการ. (บรมราชาธิบาย ร. ๔).

source : ราชบัณฑิตยสถาน
ตอบตอบ ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
260  ขายที่ดิน / ที่ดิน(ทั่วไป) / Re: เอกสารสิทธิ์ที่ดิน ประเภทต่างๆ เมื่อ: 19 มกราคม 2556 19:37:06
ภาษีที่ดิน
 
การลดหย่อน ยกเว้น หรือลดภาษีที่ดิน

1.     บุคคลธรรมดา  ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียวหรือหลายแปลงที่อยู่ในจังหวัดเดียวกัน และใช้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของตน เป็นที่เลี้ยงสัตว์ของตน หรือประกอบกสิกรรมของตน ให้ลดหย่อนจำนวนเนื้อที่ 100 ตารางวา 1 ไร่ 5 ไร่ ตามข้อบัญญัติ กทม. เรื่องการลดหย่อนไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2525 ลงวันที่ 26 มกราคม และ กฎกระทรวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2525 ลงวันที่ 5 มกราคม 2525 กำหนดท้องที่ชุมชนหนาแน่น มาก ปานกลาง และท้องที่ชนบท ทั้งนี้เฉพาะในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งแต่จังหวัดเดียว ที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างเป็นสถานการค้าหรือให้เช่าไม่ได้รับการลดหย่อน กรณีบุคคลธรรมดาหลายคนเป็นเจ้าของร่วม ได้รับลดหย่อนรวมกัน (ม. 22 และข้อ 5 ของกฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2516))

2.     ผู้ว่าราชการจังหวัด ยกเว้นหรือลดภาษีที่ดินเพาะปลูกตามระเบียบ มท. ส่วนที่ดินสุสานที่ได้รับประโยชน์ตอบแทนอาจยกเว้นให้ตามกฎกระทรวง(ม.23, ม.23 ทวิ)

 

กระบวนการหรือขั้นตอนของการภาษีที่ดิน

1.ผู้เสียภาษี (รวมทั้งหน้าที่ของเจ้าของที่ดิน)

1)    เจ้าของที่ดิน คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีกรรมสิทธิ์หรือครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน (ม.6)

2)    เจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคม มีหน้าที่เสียภาษีสำหรับปีนั้นจากราคาปานกลางของที่ดิน ตามบัญชีอัตราภาษีข้างท้าย (ม. 7)

3)      เจ้าของที่ดินมีหน้าที่ยืนแบบแสดงรายการเป็นรายแปลง (ม.24)

4)    ผู้มีหน้าที่เสียภาษีชำระภาษีในเดือนเมษายนของทุกปี หรือภายใน 30 วัน นับแต่วันรับแจ้ง (ม.35)

5)      ผู้ใดไม่มีหน้าที่ต้องเสีย หรือเสียเกินรับเงินคืนภายใน 1 ปี นับแต่วันเสียภาษีหรือวันรับแจ้ง (ม.44)

6)      เจ้าของที่ดินหรือผู้มีหน้าที่ชี้เขตและแจ้งจำนวนที่ดินตามวันเวลาที่ทำการสำรวจ (ม. 28)

 

2.การยื่นแบบ

1)    เจ้าของที่ดินยื่นแบบเป็นรายแปลง ถ้าไม่ยื่นแบบเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันทราบว่ายังไม่ยื่นแบบ และแบบแสดงรายการให้ใช้ได้ทุกรอบ
4 ปี (ม.29, 48 ข้อ 6 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2516))

2)      ถ้าเจ้าของที่ดินตาย สาบสูญ หรืออื่น ๆ ให้ผู้จัดการหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ปกครองเป็นผู้ยื่น (ม.25)

3)    นิติบุคคลให้ผู้จัดการหรือผู้แทนยื่นแบบและเจ้าของที่ดินร่วมรับผิดชอบร่วมกันในการยื่นแบบ (ม.26,27)

4)    การยื่นแบบต่อเจ้าพนักงานประเมินตาม ม.29 (ข้อ 6 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2516)

5)    เจ้าของที่ดินยื่นแบบเป็นรายแปลงตาม ม. 24, 29 ในเดือนมกราคมของปีแรกที่ตีราคาปานกลางที่ดินตาม ม.16 และให้ใช้ได้ทุกปีในรอบ 4 ปี ยื่นแบบต่อเจ้าพนักงานประเมินตาม ม. 29 (ม.24, 30 และข้อ 6 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2516)

 

 

ที่มา  http://www.onep.go.th/Naturalresources/soil/sit/INDEX.HTM

รวบรวมโดย กลุ่มงานประสาน 3 กองประสานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตอบตอบ ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
261  ขายที่ดิน / ที่ดิน(ทั่วไป) / Re: เอกสารสิทธิ์ที่ดิน ประเภทต่างๆ เมื่อ: 19 มกราคม 2556 19:34:41
เอกสารสิทธิประเภทที่ราษฎรทำขึ้นเอง
แล้วนำไปแจ้งต่อทางราชการ

ซึ่งได้แก่ แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ซึ่งราชการประกาศให้ผู้ครอบครอง และทำประโยชน์อยู่ในที่ดินก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (1 ธ.ค.2497) ไปแจ้งการครอบครองต่อนายอำเภอท้องที่ภายใน 180 วัน

        วิธีการแจ้งนั้น เจ้าของที่ดินจะไปขอแบบพิมพ์ ส.ค. 1 จากพนักงานเจ้าหน้าที่ แบบพิมพ์นั้นจะเป็นแผ่นมีรอยปรุตรงกลางมีข้อความเหมือนกันทั้งสองข้าง เมื่อได้แบบพิมพ์มาแล้วเจ้าของที่ดินจะกรอกข้อความเองเหมือนกันทั้งสองข้างแล้วนำไปยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่จะลงเลขรับไว้ตามหมู่ที่ ตำบล อำเภอ ที่รับแจ้งลงในทะเบียนการครอบครองที่ดินแล้วตีตราประจำต่อใน ส.ค. 1 ตรงรอยปรุแล้วฉีก ส.ค. 1 ตามรอยปรุเป็น 2ฉบับ ฉบับหนึ่งเก็บไว้ที่อำเภอ อีกฉบับหนึ่งมอบให้เจ้าของที่ดินไป ส.ค. 1

          แต่หลังจากนั้น ก็มีการแจ้ง ส.ค. 1 เรื่อยมา โดยรับแจ้งเนื่องจากได้รับการผ่อนผันแจ้งการครอบครองจากผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นการเฉพาะราย การผ่อนผันแจ้งการครอบครองได้ดำเนินการมาถึงปี พ.ศ. 2515 จึงยกเลิกมาตรา 5 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 หลังจากปี พ.ศ. 2515 จึงไม่มีการผ่อนผันแจ้งการครอบครองที่ดิน เว้นแต่บางเรื่องที่ค้างพิจารณาอยู่ที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้ผ่อนผันได้ภายหลังจากนั้น

           การแจ้ง ส.ค. 1 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่แก่ผู้แจ้งแต่ประการใด เดิมใครมีสิทธิอยู่อย่างไร เมื่อแจ้ง ส.ค. 1 แล้วก็คงมีสิทธิอยู่อย่างนั้น กล่าวคือ ถ้าเดิมใครครอบครองทำประโยชน์อยู่ในทุ่งเลี้ยงสัตว์สาธารณะ ป่าช้าสาธารณะ หรือป่าสงวน เมื่อแจ้ง ส.ค. 1 แล้วก็ยังเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์อยู่ในทุ่งเลี้ยงสัตว์สาธารณะ ป่าช้าสาธารณะ หรือป่าสงวนอยู่เช่นเดิม หรือเดิมเป็นผู้เช่าที่ดินคนอื่นแม้จะนำที่ดินที่เช่าไปแจ้ง ส.ค. 1 ก็ยังคงเป็นผู้เช่าอยู่เช่นเดิม ผู้แจ้งจะอ้างสิทธิใด ๆ ขึ้นใหม่ไม่ได้ และ ส.ค.1 นั้นไม่ใช้เอกสารสิทธิ อันเป็นเอกสารราชการ เพราะเจ้าหน้าที่ไม่ได้ทำขึ้นจึงเป็นเพียงเอกสารธรรมดา ส.ค.1 มีเพียงสิทธิครอบครอง โอนไม่ได้ (เว้นแต่โอนโดยการส่งมอบการครอบครอง) แต่ ส.ค. 1 นำไปจดทะเบียนจำนองได้ หากแต่ผู้รับจำนองจะต้องเสี่ยงภัยเอาเองในเมื่อถึงกาลบังคับจำนองอาจจะบังคับจำนองไม่ได้โดยเหตุที่กล่าวแล้ว
ตอบตอบ ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
262  ขายที่ดิน / ที่ดิน(ทั่วไป) / Re: เอกสารสิทธิ์ที่ดิน ประเภทต่างๆ เมื่อ: 19 มกราคม 2556 19:20:45
เอกสารสิทธิที่ราชการออกให้

หนังสือทั้ง 4 ประเภทนี้ไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ผู้ที่มีแบบ ก.ส.น. 5 ก็ดี น.ค.3 ก็ดี จะต้องไปขอออกหนังสือรับรองทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินแล้วแต่กรณี ซึ่งเมื่อออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินดังกล่าวแล้วจะต้องห้ามโอน 5 ปี รายละเอียด ดังนี้

ภ.บ.ท. 5เป็นแบบยื่นภาษีบำรุงท้องที่
ก.ส.น.5เป็นหนังสือแสดงการทำประโยชน์ ซึ่งออกให้ในนิคมสหกรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511
น.ค. 3เป็นหนังสือแสดงการทำประโยชน์ ซึ่งออกให้ในนิคมสร้างตนเอง ตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511
ส.ท.ก.เป็นหนังสือสิทธิทำกินในเขตป่าไม้ ซึ่งทางกรมป่าไม้เป็นผู้ออกให้
ส.ป.กเป็นการปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิและการถือครองในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมรวมตลอดจนถึงการจัดที่อยู่อาศัยในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้น โดยรัฐนำที่ดินของรัฐหรือที่ดินที่รัฐจัดซื้อหรือเวนคืนเจ้าของที่ดินซึ่งมิได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นด้วยตนเอง หรือ มีที่ดินเกินสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อจัดให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินของตนเองหรือเกษตรกรที่มีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ และสถาบันเกษตรกรได้เช่าซื้อ เช่าหรือเข้าทำประโยชน์โดยรัฐให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม การปรับปรุงทรัพยากรและปัจจัยการผลิตตลอดจนการผลิตและการจำหน่ายให้เกิดผลดียิ่งขึ้น ภายใต้ พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2519 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532


ภ.บ.ท. 5

เป็นแบบยื่นภาษีบำรุงท้องที่ ความหมายของที่ดิน ใน ภ.บ.ท. 5  หมายความว่า พื้นที่ดินและให้หมายความรวมถึงพื้นที่ที่เป็นภูเขาหรือที่มีน้ำด้วย (มาตรา 6) ซึ่งมีข้อยกเว้น ตาม (มาตรา 8 ) เจ้าของที่ดินไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องถิ่น สำหรับที่ดินต่อไปนี้

1)     ที่ดินที่เป็นที่ตั้งพระราชวังอันเป็นส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

2)  ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือที่ดินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐหรือสาธารณะ โดยมิให้หาผลประโยชน์

3)     ที่ดินของราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในกิจการของราชการส่วนท้องถิ่น หรือสาธารณะโดยมิได้หาประโยชน์

4)     ที่ดินที่ใช้เฉพาะการพยาบาลสาธารณะ การศึกษา หรือการกุศลสาธารณะ

5)  ที่ดินที่ใช้เฉพาะศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดไม่ว่าจะใช้ประโยชน์ศาสนกิจ ศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือที่ศาลเจ้าโดยมิได้หาผลประโยชน์

6)     ที่ดินที่ใช้เป็นสุสานและฌาปนสถาน สาธารณะโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน

7)     ที่ดินที่ใช้ในการรถไฟ การประปา การไฟฟ้า หรือการท่าเรือของรัฐ หรือที่ใช้เป็นสนามบินของรัฐ

8 )     ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินอยู่แล้ว

9)  ที่ดินของเอกชนเฉพาะส่วนที่เจ้าของที่ดินยินยอมให้ทางราชการจัดใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์ โดยเจ้าของที่ดินมิได้ใช้ หรือหาประโยชน์ในที่ดินเฉพาะส่วนนั้น

10) ที่ดินที่เป็นที่ตั้งที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่มีข้อผูกพันยกเว้นตามอนุสัญญาหรือข้อตกลง

11) ที่ตั้งสถานทูต สถานกงสุล

12) ที่ดินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 
ก.ส.น. 5

เป็นหนังสือแสดงการทำประโยชน์ ซึ่งออกให้นิคมสหกรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511การได้สิทธิในที่ดินของสมาชิกนิคมสหกรณ์ การจัดการที่ดินลักษณะนี้ กฎหมายมุ่งที่จะให้สมาชิกนิคมสหกรณ์ผู้ได้รับการจัดสรรที่ดินที่ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดิน (โฉนดที่ดินหรือตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว) หรือสิทธิครอบครอง (น.ส.3) เมื่อสมาชิกนิคมสหกรณ์นั้น ๆ ปฏิบัติตามกฎหมายไว้ คือ

1)     เมื่อสมาชิกนิคมสหกรณ์ได้ทำประโยชน์ที่ดินแล้ว

2)     เป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

3)     ชำระเงินค่าช่วยทุนรัฐบาลเรียบร้อย

4)     ชำระหนี้เกี่ยวกับกิจการของนิคมให้แก่ทางราชการเรียบร้อยแล้ว

สมาชิกนิคมสหกรณ์ที่ปฏิบัติครบตามหลักเกณฑ์ ทั้ง 4 ข้อ ดังกล่าว กรมส่งเสริมสหกรณ์จะออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ให้แก่สมาชิกนิคมสหกรณ์นั้น ๆ เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการที่ตนเป็นสมาชิกอยู่เมื่อได้รับอนุญาตแล้วสมาชิกนิคมสหกรณ์ผู้นั้นก็สามารถนำหลักฐานดังกล่าวไปออกโฉนดที่ดินหรือ น.ส. 3  ผู้ได้มาซึ่งที่ดินจะโอนที่ดินไปให้ผู้อื่นไม่ได้ นอกจากตกทอดทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกอยู่ และภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ที่ดินนั้นไม่อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดีด้วย

 

น.ค. 3

เป็นหนังสือแสดงการทำประโยชน์ ซึ่งออกให้ในนิคมสร้างตนเองตาม พ.ร.บ. จัดที่ดิน เพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511  การได้สิทธิในที่ดินของสมาชิกนิคมสร้างตนเอง เมื่อสมาชิกได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข คือ

1)     ต้องเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

2)     ต้องไม่มีหนี้สินที่เกี่ยวกับกิจการนิคม

3)     ชำระเงินค่าช่วยทุนรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว

4)  ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ในที่ดินตามมาตรา 8  ตาม พ.ร.บ จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 สมาชิกสงเคราะห์จะออกหนังสือการทำประโยชน์ให้แก่สมาชิกนิคมสร้างตนเอง

 

ส.ท.ก.

กรมป่าไม้ได้เริ่มดำเนินการให้สิทธิทำกิน (สทก.) ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ มานับตั้งแต่ปี 2525 ต่อมาปี พ.ศ. 2528 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2528 กำหนดให้มีมาตรา 16 ทวิ และมาตรา 16 ตรี ขึ้นเพื่อช่วยเหลือราษฎรที่มีความจำเป็นในการครองชีพ สามารถเข้าทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติได้โดยไม่เดือนร้อน และโดยมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งซึ่งความตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นการรับรองว่าสิทธิทำกิน (สทก.) ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่กรมป่าไม้มอบให้กับราษฎรนั้นเป็นไปตามกฎหมาย


การออกหนังสือ สทก.

1.   การที่จะให้ “สทก.” ในเขตป่าสงวนแห่งชาติใด ๆ กรมป่าไม้จะต้องส่งเจ้าหน้าที่ออกไปเดินสำรวจในเขตป่าสงวนแห่งชาตินั้น ๆ ว่ามีพื้นที่บริเวณใดที่ยังคงมีสภาพป่าดีอยู่ มีพื้นที่ใดที่ควรสงวนรักษาไว้มีพื้นที่ที่หมดสภาพป่าไปแล้วเป็นสภาพที่มีลักษณะเสื่อมโทรมจำนวนเท่าใด จัดทำแผนที่รายงานต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงนามประกาศกำหนดให้บริวเณพื้นที่ที่สภาพเสื่อมโทรมดังกล่าวให้เป็น “เขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ” แล้วกรมป่าไม้ก็จะส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจสภาพพื้นที่เพื่อพิจารณาให้สิทธิทำกินต่อไป

2.      เมื่อกรมป่าไม้กำหนดที่จะทำการสำรวจสภาพพื้นที่ในเขตป่าใด

2.1     ประชาสัมพันธ์นัดหมายราษฎรพื้นที่มาประชุมฟังคำชี้แจงถึงหลักเกณฑ์ต่าง ๆ

2.2  ให้ราษฎรผู้ครอบครองที่ดินในเขตปรับปรุงป่าสงวนแหงชาติ ยื่นคำขอมีสิทธิทำกิน ตามเวลากำหนด โดยต้องนำบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านไปเป็นหลักฐานด้วย

2.3   เจ้าหน้าที่นัดหมายรษารผู้ยื่นคำขอแต่ละรายมานำสำรวจการถือครอบและตรวจสอบสภาพพื้นที่ หากถูกต้องตามกลักเกณฑ์และข้อกำหนดก็จำทำการรังวัดขอบเขตแปลงที่ดิน พร้อมกับฝังหลักเขตแสงดแนวแปลงที่ดิน

3.   หนังสือ “สทก.” ที่มอบให้ราษฎรจะลงนามอนุญาตโดยผู้ว่าราชการจังหวัดท้องที่ที่ป่าสงวนแห่งชาตินั้นตั้งอยู่ มีลักษณะดังนี้

แบบที่ 1    เรียกว่า “หนังสืออนุญาตให้ทำประโยชน์ และอยู่อาศัยภายในเขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ” หรือแบบ สทก.1ก. เป็นหนังสืออนุญาตให้ครั้งแรก มีอายุการอนุญาต 5 ปี ขนาดเนื้อที่อนุญาตให้ตามที่ครอบครองอยู่จริง แต่ไม่เกิน 20 ไร่ ต่อครอบครัว ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตเมื่อครบกำหนดการอนุญาตให้ครั้งแรก จะเปลี่ยนหนังสืออนุญาตตามแบบ สทก.2 ก

แบบที่ 2    แบบ สทก.2 ก ออกให้สำหรับผู้ที่ได้รับ สทก.1 ก มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไข กรมป่าไม้จะออกหนังสือฉบับนี้ให้เพื่อมีสิทธิทำกินในที่ดินเดิมต่อไปซึ่งไม่เกิน 20 ไร่ ต่อครอบครัว (โดยจะเรียกเก็บหนังสือ สทก.1 ก ด้วย) มีอายุการอนุญาต 5 ปี และต้องชำระค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้อัตราไร่ละ 20 บาท (ต่อหนึ่งคราวการอนุญาต) เมื่อครบกำหนดก็จะมีการพิจารณาต่ออายุให้

แบบที่ 3    เรียกว่า “หนังสืออนุยษตให้ทำการปลูกป่าหรือไม้ยืนต้นภายในเขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ” หรือ แบบ สทก.1 ข เป็นหนังสืออนุญาตที่ออกให้แก่ราษฎรผู้ที่ได้รับ สทก.1 ก หรือ สทก.2 ก ที่ครอบครองพื้นที่เกิดกว่า 20 ไร่ และมีความประสงค์จะปลูกป่าหรือไม้ยืนต้นภายในเนื้อที่ไม่เกิน 35 ไร่ ต่อครอบครัว มีอายุการอนุญาตคราวละ 10 ปี และจะต้องชำระค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตในอัตราไร่ละ 20 บาท ทั้งนี้ราษฎรจะต้องปลูกป่าหรือไม้ยืนต้นไม่น้อยกว่าไร่ละ 25 ต้น เมื่อครบกำหนดเวลาการอนุญาตก็สามารถต่ออายุได้
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตให้มีสิทธิทำกิน                    

1.   จะต้องเป็นป่าสงวนแห่งชาติที่มีลักษณะเป็นป่าสงวนแห่งชาติที่มีลักษณะเป็นป่าเสื่อมโทรมที่กรมป่าไม้ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจพิสูจน์แล้ว

2.      เป็นพื้นที่ที่ได้ทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยอยู่แล้ว

3.      ไม่อยู่ในพื้นที่ป่าที่มีสภาพเป็น ต้นน้ำลำธาร ภูเขาสูงชัน หรือมีสภาพที่ควรรักษาไว้

4.      ไม่เป็นป่าชายเลน

5.      ไม่เป็นพื้นที่ป่าที่ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการป่าไม้

6.      ไม่เป็นบริเวณที่มีทิวทัศน์สวยงามอันควรรักษาไว้

7.      ไม่เป็นพื้นที่ซึ่งได้ทำการปลูกสร้างสวนป่า หรือได้รับอนุมัติโครงการสำหรับปลูกป่าระยะ 5 ปีไว้แล้ว
คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตมีสิทธิทำกิน

-          เป็นบุคคลธรรมดา (ไม่ใช่นิติบุคคล)

-          บรรลุนิติภาวะแล้ว และเป็นหัวหน้าครอบครัว

-          เป็นผู้ที่ได้ประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ที่ขอมีสิทธิทำกินอยู่แล้วสิทธิ

1.      สามารถอยู่อาศัยและทำกินต่อไปในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยถูกต้องตามกำหมาย

2.      สิทธิทำกินตกทอดไปถึงทายาทได้

3.   สามารถขออนุญาตทำไม้ที่ได้ปลูกขึ้นภายในที่ดินที่ได้รับอนุญาต (ตามแบบ สทก.1 ก หรือ สทก.2 ก หรือ สทก.1 ข)เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่ต้องชำระค่าภาคหลวงและค่าบำรุงป่า

4.   สามารถขอรับการสนับสนุนเงินทุน ในรูปของสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตร ได้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตามโครงการที่กรมป่าไม้ และ ธ.ก.ส. จัดทำขึ้น
หน้าที่

ผู้ที่ได้รับ สทก. ต้องปฏิบัตินั้นคือ ข้อกำหนดเป็นเงื่อนไขของหนังสืออนุญาตแบบต่าง ๆ ซึ่งปรากฏหลังของหนังสืออนุญาตแบบต่าง ๆ สารสำคัญคือ

1.   จะต้องทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับจาก สทก. ตามวัตถุประสงค์ที่ขอไว้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด และจะให้บุคคลอื่นนอกจากบุคคลในครอบครัว เข้าทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวมิได้

2.      ห้ามซื้อ-ขายที่ดิน สทก.

3.      ห้ามละทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือไม่อยู่อาศัยในที่ดินที่ได้รับ สทก.

4.      ห้ามบุกรุกแผ้วถางป่าในบริเวณติดต่อใกล้เคียง

5.   ให้ความร่วมมือพนักงานเจ้าหน้าที่ มาขอตรวจสอบการปฏิบัติตามเงื่อนไขหนังสืออนุญาต สทก. หากไม่ปฏิบัติตาม “หน้าที่”หรือ ทำผิด “เงื่อนไข” จะถูกเพิกถอน “สิทธิทำกิน” โดยจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในกรณีใด ๆ มิได้

 

การตรวจสอบการปฏิบัติตามเงื่อนไข สทก.

กรมป่าไม้จะส่งเจ้าหน้าที่ออกมาพบประชาชนผู้ได้รับ สทก. โดยสม่ำเสมอเพื่อตรวจสอบการใช้ที่ดิน ว่าเป็นไปตามเงื่อนไขหรือไม่หากถูกต้องก็จะมี “สิทธิทำกิน” ต่อไปเรื่อย ไ
 การดำเนินการในปัจจุบัน

                   ปัจจุบันกรมป่าไม้ไม่ได้มีการออก สทก. เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งเกษตรกรที่ไม่มีที่ทำกินก็จะหันไปขอเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. แทน แต่สำหรับผู้ที่ได้รับสิทธิ สทก. แต่เดิมอยู่แล้วก็ยังคงมีสิทธิอยู่ตามเดิม

 

การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.)

ความหมายของ “การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” กำหนดไว้ในกฎหมายปฏิรูปที่ดินมาตรา 4 ความว่า “การปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิและการถือครองในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมรวมตลอดจนถึงการจัดที่อยู่อาศัยในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้น โดยรัฐนำที่ดินของรัฐหรือที่ดินที่รัฐจัดซื้อหรือเวนคืนเจ้าของที่ดินซึ่งมิได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นด้วยตนเอง หรือ มีที่ดินเกินสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อจัดให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินของตนเองหรือเกษตรกรที่มีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ และสถาบันเกษตรกรได้เช่าซื้อ เช่าหรือเข้าทำประโยชน์โดยรัฐให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม การปรับปรุงทรัพยากรและปัจจัยการผลิตตลอดจนการผลิตและการจำหน่ายให้เกิดผลดียิ่งขึ้น”

การปฏิรูปที่ดินเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินเพื่อการเกษตรเป็นของ
ตนเองอย่างถูกต้องตามกฎหมายตลอดไปตามขนาดและความจำเป็นของเกษตรกรรมนั้น ๆ พร้อมทั้งมีการพัฒนาพื้นที่ปรับปรุง ก่อสร้างถนน แหล่งน้ำ สาธารณูปโภคต่าง ๆ และส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกรเพื่อให้มีรายได้และสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยมีสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ภายใต้ พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2519 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532 จึงเห็นได้ชัดว่าเป้าหมายสำคัญของการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นอกจากมุ่งหมายให้เกษตรกรมีความเท่าเทียมกันด้านสิทธิและการถือครองที่ดินแล้วยังให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพและรายได้ของเกษตรกรเพื่อให้สามารถดำรงชีพในที่ดินที่ได้รับจากการปฏิรูปที่ดินได้งานหลักของ ส.ป.ก. จึงมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ

1)     งานจัดที่ดิน โดยนำที่ดินของรัฐและที่ดินเอกชนมาให้เกษตรกรเช่า เช่าซื้อ

2)     งานพัฒนาขั้นพื้นฐาน เช่น ถนน แหล่งน้ำ เท่าที่จำเป็นในเขตปฏิรูปที่ดิน

3)     งานพัฒนาอาชีพและรายได้ของเกษตรกร

 “เกษตรกร” หมายความว่า ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และให้หมายความรวมถึงบุคคลผู้ยากจนหรือผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรมหรือเป็นบุตรของเกษตรกรบรรดาซึ่งไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเอง และประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ตามหลักเกณฑ์และ
เงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาด้วย



คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับที่ดิน

ผู้ที่จะได้รับการจัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยวิธีการปฏิรูปที่ดินจะต้องเป็นเกษตรกรเท่านั้น กล่าวคือ

        1.   เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มิใช่อาชีพอื่น และต้องไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองหรือมีเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ

        2.   เป็นผู้ซึ่งประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ได้แก่ ผู้ที่ยังไม่เป็นเกษตรกร แต่ประสงค์จะเป็นเกษตรกรและมาขอรับการจัดที่ดินโดยจะต้องเป็นผู้ที่ยากจนหรือผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรม หรือเป็นบุตรของเกษตรกร และต้องไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเองและไม่มีอาชีพอื่น อันมีรายได้ประจำเพียงพอแก่การยังอาชีพอยู่แล้ว

        

การดำเนินการปฏิรูปที่ดินในที่ดินของรัฐ

การปฏิรูปที่ดินในที่ดินของรัฐ หมายถึง การนำที่ดินของรัฐซึ่งถูกราษฎรบุกรุกถือครองโดยไม่ถูกต้อง ตามกฎหมาย หรือที่ดินที่รัฐไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิมที่ได้สงวนหรือหวงห้ามไว้มาจัดให้เกษตรกรเข้าทำกินเป็นการถาวรและถูกต้องตามกฎหมาย หรือ การปฏิรูปที่ดินในที่ดินของรัฐ หมายถึง การที่ ส.ป.ก. นำที่ดินของรัฐ ได้แก่ ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตป่าไม้ถาวรที่เสื่อมโทรม ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดิน ที่สาธารณประโยชน์ที่ประชาชนเลิกใช้ร่วมกัน ที่ราชพัสดุ ที่กระทรวงการคลังให้ความยินยอมแล้ว ที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือที่ดินที่จำแนกออกจากเขตป่าไม้ถาวร นำมาจัดให้เกษตรกรเช่า เช่าชื้อ เข้าทำประโยชน์ หรือจัดให้โดยมีค่าชดเชย
ตอบตอบ ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
263  ขายที่ดิน / ที่ดิน(ทั่วไป) / Re: เอกสารสิทธิ์ที่ดิน ประเภทต่างๆ เมื่อ: 19 มกราคม 2556 19:10:52
หนังสือแสดงสิทธิ์ที่ดิน

ออกตามประมวลกฎหมายที่ดิน  ได้แก่

1.   ใบจอง (น.ส.2)  หมายความถึง หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินชั่วคราวเป็นหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินที่ทางราชการออกให้เนื่องจากการจับจองตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่ยังไม่ให้สิทธิ์ครอบครองในที่ดินโดยสมบูรณ์ เพราะเป็นการอนุญาตให้ผู้จับจองที่ดินเข้าทำประโยชน์เป็นการชั่วคราว หากเห็นว่าผู้ที่เข้าครอบครองทำประโยชน์นั้นไม่ได้ทำประโยชน์ภายในเวลาที่กำหนด หรือเข้าทำประโยชน์แล้วทำประโยชน์ไม่แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด ทางราชการก็จะให้ผู้นั้นหมดสิทธิ์ในที่ดินและจะนำไปจัดให้บุคคลอื่นต่อไป ผู้มีชื่อในใบจองจึงยังไม่ใช่เจ้าของ จะนำไปจดทะเบียนขายไม่ได้ จำนองไม่ได้ เว้นแต่การโอนทางมรดก เมื่อทำประโยชน์ในใบจองเสร็จนำไปออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้แล้วแต่กรณี สำหรับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกจากใบจองต้องห้ามโอนภายใน 10 ปี (บางกรณีห้ามโอนภายใน 5 ปี หรือไม่ให้โอนเลย)

2.    หนังสือรับรองการทำประโยชน์ หมายความถึง หนังสือคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้วมีเพียงสิทธิ์ครอบครอง (ไม่มีกรรมสิทธิ์) มีทั้งหมด 3 แบบ คือ

    2.1       แบบ น.ส. 3  เป็นแบบธรรมดาออกได้ในพื้นที่ทั่วไป  รูปแผนที่ใน น.ส. 3 เป็นแผนที่รูปลอย มีการยึดโยงเหมือนกันแต่เป็นการยึดโยงกับถาวรวัตถุหรือสิ่งอื่นที่พอจะหาได้ในบริเวณนั้น เช่น ต้นไม้ยืนต้นที่สภาพไม่แน่นอนการหาตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินจึงไม่แน่นอนยากต่อการตรวจสอบการจดทะเบียนนิติกรรมแต่ละครั้งจึงต้องทำการประกาศก่อน

    2.2       แบบ น.ส. 3 ก.  ออกได้เฉพาะในพื้นที่ที่ได้สร้างระวางรูปถ่ายทางอากาศแล้วเท่านั้น รูปแผนที่สามารถยึดโยงได้กับระวาง มีตำแหน่งแน่นอนไม่เหมือนกับแบบ น.ส. 3 ข้อจำกัดของแบบ น.ส. 3 ก. ก็คือ ออกไม่ได้ทุกพื้นที่ พื้นที่ใดที่ยังไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศจะออก น.ส. 3 ก. ไม่ได้

    2.3       แบบหมายเลข 3 ออกได้ทุกพื้นที่   วิธีการออกเหมือนกับการออก น.ส. 3 แต่ปัจจุบันไม่มีการออกแล้ว เพราะกรมที่ดินไม่พิมพ์ไปให้ ถ้ามีการแบ่งแยกที่ดินแปลงแยกจะออกเป็นแบบ น.ส. 3

    

3.   ใบไต่สวน (น.ส.5)  หมายความถึง หนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดิน และให้หมายความรวมถึง ใบนำด้วย ก่อนที่จะออกโฉนดที่ดินทุกครั้งจะต้องทำใบไต่สวนขึ้นก่อนทุกครั้ง เพราะใบไต่สวนเป็นแบบการสอบสวน เหตุที่กฎหมายกำหนดให้ใบไต่สวนเป็นหนังสือแสดงสิทธิ์ที่ดินและให้จดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมในใบไต่สวนได้เช่นเดียวกับโฉนดที่ดินก็เพราะ เมื่อสมัยก่อนนั้น การที่กรมที่ดินได้ดำเนินการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินในท้องที่ใดแล้ว เจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจะนำเรื่องการออกโฉนดที่ดินทั้งหมดกลับมาที่กรมที่ดินเพื่อเขียนโฉนดแล้วนำไปแจกโฉนดที่ดินให้ราษฎรภายหลัง บางครั้งใช้เวลาเป็นปี ๆ ทำให้ราษฎรเดือดร้อนเพราะจะทำการโอนที่ดินหรือนำที่ดินไปจดทะเบียนสิทธิ์อื่นไม่ได้ เช่น จำนองเพื่อประกันการกู้ยืมเงิน เป็นต้น กฎหมายจึงกำหนดให้ใบไต่สวนเป็นหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินที่จะจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมใด ๆ ได้เช่นเดียวกับโฉนดที่ดิน ดังนั้น เมื่อทางราชการได้ไปทำการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินในท้องที่ใดทางราชการจะแจกใบไต่สวนให้ราษฎรยึดถือไว้ก่อนจนกว่าจะได้ออกโฉนดที่ดินแล้ว แต่ปัจจุบันนี้ใบไต่สวนมีบทบาทน้อยมาก เพราะเมื่อทางราชการไปทำการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินในท้องที่ใดได้เตรียมการออกโฉนดที่ดินไว้พร้อมที่จะแจกโฉนดที่ดินให้ราษฎรได้ก่อนที่จะกลับ ทางปฏิบัติจึงแจกใบไต่สวนพร้อมทั้งแจกโฉนดที่ดินไปในคราวเดียวกัน

                      ส่วนใบนำก็เช่นเดียวกับใบไต่สวน กล่าวคือ เมื่อเจ้าหน้าที่ไปเดินสำรวจเพื่อออกโฉนดที่ดินให้เจ้าของที่ดินไปนำทำการเดินสำรวจ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ทำการสอบสวนเสร็จแล้วก็ออกใบนำให้เจ้าของที่ดินไว้เป็นหลักฐาน ดังนั้น ก่อนออกโฉนดที่ดินบางสมัยก็ออกใบไต่สวน บางสมัยก็ออกใบนำจึงจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมต่าง ๆ ในใบนำได้ ปัจจุบันใบนำไม่มีออก ที่เหลืออยู่ก็ส่วนน้อยและค่อย ๆ หมดไป

 

4.     โฉนดที่ดิน  (น.ส.4, น.ส. 4 ก. ฯลฯ)  หมายความถึง  หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน และให้หมายความรวมถึงโฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง และตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว

    4.1       โฉนดที่ดิน  ออกตามประมวลกฎหมายที่ดิน การที่จะออกโฉนดที่ดินได้จะต้องเป็นท้องที่ที่ได้สร้างระวางแผนที่หรือระวางแผนที่รูปถ่ายทางอากาศแล้วเท่านั้น ถ้าไม่มีจะออกโฉนดที่ดินไม่ได้ ตำแหน่งของโฉนดที่ดินแต่ละแปลงที่ออกให้สามารถหาตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินได้แน่นอน เพราะมีการยึดโยงกับระวางได้ ซึ่งระวางดังกล่าวสร้างจากศูนย์กำเนิด ปัจจุบันศูนย์กำเนิดของระวางที่ใช้อยู่มี 29 ศูนย์ เช่น ที่กรุงเทพมหานครใช้ศูนย์กำเนิดที่ภูเขาทอง ที่จังหวัดนครปฐม ใช้พระปฐมเจดีย์เป็นศูนย์กำเนิด ที่เชียงใหม่ใช้ยอดเจดีย์ของวัดกู่เต้า เป็นต้น แต่ปัจจุบันกรมที่ดินได้นำระวางแผนที่ระบบพิกัดจาก U.T.M. ซึ่งหาตำแหน่งโดยระบบสากลมาใช้ และระบบศูนย์กำเนิดก็จะค่อย ๆ หมดไป

    4.2       โฉนดแผนที่ ออกตามประกาศออกโฉนดที่ดิน ร.ศ. 120 (พ.ศ. 2445) ซึ่งโฉนดที่ดินฉบับแรกออกที่อำเภอบ้านแป้ง อำเภอพระราชวัง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันคืออำเภอบางปะอิน ต่อมาได้ออกเป็นพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2452) เหตุที่เรียกโฉนดแผนที่เพราะโฉนดที่ออกมีแผนที่ด้วย ซึ่งแตกต่างจากโฉนดที่แบบเดิมซึ่งไม่มีแผนที่ เช่น โฉนดสวน โฉนดป่า (เพื่อประโยชน์ในการเก็บภาษี) วิธีการออกโฉนดแผนที่เหมือนกับการออกโฉนดที่ดินทุกประการ หรือจะกล่าวว่าโฉนดแผนที่ก็คือโฉนดที่ดินก็ไม่ผิด

     4.3       โฉนดตราจอง  ออกตามพระราชบัญญัติออกตราจองชั่วคราว ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2446) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนนามเป็นพระราชบัญญัติออกโฉนดตราจอง ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2449) ออกในมณฑลพิษณุโลก คือ จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร อุดรดิตถ์ และสุโขทัย ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดทำให้โฉนดตราจองตกอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์บางส่วน ปัจจุบันไม่มีออก (เพราะ พ.ร.บ. ออกโฉนดตราจอง ร.ศ. 124 ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497) จะออกใหม่ก็เฉพาะออกเนื่องจากการแบ่งแยกโฉนดตราจองเดิม แต่ปัจจุบันกรมที่ดินไม่ได้พิมพ์แบบพิมพ์โฉนดตราจองแล้ว จึงให้นำแบบพิมพ์โฉนดที่ดินมาใช้แทนแล้วประทับตราว่า “โฉนดตราจอง”โฉนดตราจองเป็นหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์เช่นเดียวกับโฉนดที่ดิน จึงจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกับโฉนดที่ดิน

    4.4       ตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ออกตราพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 479 ออกได้ทั่ว ๆ ไปไม่จำกัดพื้นที่ เช่น โฉนดตราจอง เดิมได้มีการออกตราจองที่เป็นใบอนุญาต เจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้ออกเมื่อทำประโยชน์เสร็จแล้ว เจ้าพนักงานที่ดินจะออกตราจอง “ได้ทำประโยชน์แล้ว” ให้ ปัจจุบันไม่มีออก (เพราะ พ.ร.บ. ออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2479 ถูกยกเลิก โดย พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497) จะออกใหม่ก็เฉพาะออกเนื่องจากการแบ่งแยกตราจองฯ เดิม แต่ปัจจุบันกรมที่ดินไม่ได้พิมพ์แบบพิมพ์ตราจองฯ แล้ว จึงให้นำแบบพิมพ์โฉนดที่ดินมาใช้แทน แล้ว ประทับตราว่า “ตราจอง” เป็นหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์เช่นเดียวกับโฉนดที่ดินจึงจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกับโฉนดที่ดิน
ตอบตอบ ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
264  ขายที่ดิน / ที่ดิน(ทั่วไป) / เอกสารสิทธิ์ที่ดิน ประเภทต่างๆ เมื่อ: 19 มกราคม 2556 19:03:55
     หลาย ๆ ท่านคงจะมีความสงสัยว่าในประเทศไทยนี้มีเอกสารที่แสดงเกี่ยวกับสิทธิ์ในที่ดินอย่างไรบ้าง เพราะหลาย ๆ เหตุการณ์ที่ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ อ้างถึงเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน แบบต่าง ๆ เช่น โฉนด นส3. นส3ก. สปก. สค1 ภบท เป็นต้น ซึ่งก็คงเกิดความสนใจขึ้นมาบ้างว่าแล้วแต่ละอย่างมันคืออะไรล่ะ ผมจึงได้ไปรวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับเอกสารสิทธิ์มาและเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ก็เลยลองเอามาขึ้น web ดู ก็ต้องขอขอบคุณเจ้าของเรื่องที่ได้นำมาอ้างอิงไว้
     เอกสารสิทธิ์ หมายถึง เอกสารหรือหนังสือต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับที่ดิน ทั้งที่ทางราชการออกให้ หรือที่ราษฎรทำขึ้นเองแล้วนำไปแจ้งต่อทางราชการ พอจะแบ่งประเภทเอกสารสิทธิ์ดังกล่าวได้ดังนี้

  • หนังสือแสดงสิทธิ์ที่ดิน
  • เอกสารสิทธิ์ที่ราชการออกให้
  • เอกสารสิทธิ์ประเภทที่ราษฏรทำขึ้นเอง
ตอบตอบ ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
265  สารสนเทศน่ารู้ ตลาดสด บันเทิงกระจาย / พัฒนาระบบและสาระน่ารู้ / วัดโผล่กลางถนน! ผู้รับเหมาผวาไม่กล้ารื้อหวั่นอาถรรพ์ เมื่อ: 19 มกราคม 2556 17:57:33
วัดโผล่กลางถนน! ผู้รับเหมาผวาไม่กล้ารื้อหวั่นอาถรรพ์

สุดแปลกวัดโผล่กลางถนน หลังไม่มีใครกล้ารื้อต้องผ่าเลนเป็นสองทางอ้อมวัดไว้กลางถนน เผยเป็นวัดเก่าแก่เคยมีผู้พยายามรื้อแต่กลับมีอันเป็นไปถึงชีวิต

ที่บริเวณถนนคันคลองชลประทาน หมู่ที่  1 ต.ไชยภูมิ อ.ไชโย จ.อ่างทอง ผู้สื่อข่าวได้เข้าตรวจสอบบริเวณพุทธสถานวัดแจ้ง หลังมีชาวบ้านที่ใช้เส้นทางหลายคนเห็นความแปลกของวัดดังกล่าวที่ตั้งอยู่กลางถนน จนทำให้ต้องทำถนนเบี่ยงแยกออกเป็นสองทาง โดยมีทั้งต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ ศาลาที่มีรูปหล่อพระต่างๆ อยู่กลางถนนเส้นดังกล่าว สร้างความแปลกใจให้กับผู้ที่ผ่านไปมา

นายสกุล วิถีเถื่อน วัย 70 ปี ชาวบ้านบริเวณดังกล่าว และเป็นผู้ดูแลวัดเปิดเผยว่า วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่คู่กับวัดไชโยวรวิหาร ซึ่งน่าจะสร้างมาไล่ๆ กัน แต่ต่อมาได้ย้ายวัดไปอยู่ติดริมแม่น้ำ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวัดไชยภูมิที่อยู่ห่างออกไปเล็กน้อย แต่บริเวณดังกล่าวยังเป็นศาลา และต้นโพธิ์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพอยู่ หลังจากนั้นเมื่อประมาณสัก 5 ปีที่ผ่านมา ทางกรมทางได้มาสร้างถนนริมคลองชลประทาน แต่จะต้องรื้อศาลาและขุดต้นโพธิ์ต้นนี้ทิ้ง หลังจากนำเครื่องมือหนักมาจะถอนต้นโพธิ์ก็ไม่สามารถถอนได้ และมีเหตุให้คนขับรถแบคโฮเสียชีวิต ทำให้ทางผู้รับเหมาตัดสินใจทำถนนแยกเป็นสองเลนคล่อมวัดไว้จนเป็นอย่างที่เห็น

ผู้สื่อข่าวเล่าต่อว่า นอกจากความแปลกที่วัดแห่งนี้มาตั้งอยู่กลางถนนแล้ว บริเวณโดยรอบยังมีการนำเสาฐานของศาลมาตั้งไว้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ ป้องกันรถที่ขับมาอาจจะมองไม่เห็น โดยเฉพาะถนนบริเวณที่อยู่ด้านหน้าและด้านหลัง มีความแคบมาก อาจจะพุ่งเข้ามาชนได้ แต่ที่ผ่านมายังไม่เคยเกิดเหตุขึ้นแต่อย่างใด สำหรับวัดดังกล่าว เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านในบริเวณนี้อย่างมาก แม้จะไม่มีพระจำพรรษาอยู่ แต่เมื่อขับรถผ่าน จะมีการบีบแตรทำความเคารพกันทุกคนและการที่วัดมาอยู่กลางถนนเช่นนี้ ถือเป็นเรื่องแปลกอย่างยิ่ง
ตอบตอบ ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
266  สารสนเทศน่ารู้ ตลาดสด บันเทิงกระจาย / พัฒนาระบบและสาระน่ารู้ / การโพส (Post) ภาพวัด เมื่อ: 19 มกราคม 2556 16:03:43
การโพส (Post) ภาพวัด

1.เตรียมภาพให้พร้อม ภาพที่จะโพสความกว้างของภาพต้องไม่เกิน 1024พิกเซล(Pixels) ควรใช้โปรแกรมลดขนาด
2.เข้าโปรแกรมทะเบียนพระOnline เข้าไปที่เมนูวัด >> ค้นหาวัด >> เข้าไปสู่ประวัติวัด >> คลิกปุ่ม Upload >> คลิกที่ภาพที่เราUpload >> Copyที่อยู่ภาพ
3.กลับมาที่เวบบอร์ดคลิก หมวดวัดวาอารามในโครงการพัฒนาไอที  >>  ข้อมูลวัด  >>  เริ่มหัวข้อใหม่
4.คลิกที่สัญลักษณ์(Icon)รูปภาพ แทรกที่อยู่ภาพตรงกลางระหว่าแท็ก
โค๊ด:
 ([img]http://ตรงนี้[/img])
5.ตอบคำถามตรงช่อง "กันการแสปม"


หากมีหลายภาพให้ Copyที่อยู่ภาพ มาใส่แท็กเหมือนเดิม
ตอบตอบ ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
267  สารสนเทศน่ารู้ ตลาดสด บันเทิงกระจาย / พัฒนาระบบและสาระน่ารู้ / [อ.เฝ้าไร่] วัดกุดแคน จ.หนองคาย ถ่ายทำหนัง15ค่ำเดือน11 เมื่อ: 19 มกราคม 2556 14:36:56
วัดกุดแคน
หมู่ที่ 3 ต.หนองหลวง เขต1 อ.เฝ้าไร่ จ.หนองคาย

วัดตั้งอยู่ที่นี่ --->> GoogleMap

เป็นวัดที่ใช้ถ่ายทำภาพยนต์เรื่อง 15ค่ำเดือน11

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=ZSbkjcDYrUI" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=ZSbkjcDYrUI</a>

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=On-QkJRwrb4" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=On-QkJRwrb4</a>













ตอบตอบ ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
268  ขายที่ดิน / ที่ดิน(ทั่วไป) / Re: ทำความรู้จัก อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดโคราช [Wang Nam Khiao] เมื่อ: 19 มกราคม 2556 10:42:10
ผลการวิจัยเกี่ยวกับ โอโซน

เมื่อพูดถึงการผ่าตัด คงเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นการรักษาทางการแพทย์ที่ต้องใช้ความสะอาด
อย่างสูงสุดไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์การรักษา, แพทย์ พยาบาลที่ให้การรักษา หรือแม้แต่อากาศที่อยู่
ภายในห้องผ่าตัดจะต้องมีความสะอาด ไม่ทำให้ผู้ป่วยที่กำลังได้รับการรักษาได้รับการติดเชื้อ

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ทางการแพทย์ได้ใช้วิธีทำความสะอาดมือของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด
โดยใช้สารเคมี ซึ่งตัวสารเคมีเองอาจจะตกค้างได้ ดังนั้นด้วยคุณสมบัติของโอโซนข้อหนึ่งในการ
ฆ่าเชื้อโรครวมทั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา โดยไม่เหลือสารตกค้างที่เป็นพิษใด ๆ นอกจาก
ออกซิเจนเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เองจึงนำปสู่การรักษาวิจัยโดยใช้น้ำโอโซนเข้มข้น 0.4 ppm ที่ผ่าน
การกรองคลอรีนและโลหะหนักด้วยเครื่องกรองน้ำ ล้างมือแพทย์ก่อนทำการผ่าตัดเป็นเวลา 3 นาที
....... ในแง่ของการทำความสะอาดในห้องผ่าตัดนั้น ส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีและรังสีอุลตร้าไวโอเลต
เพื่อฆ่าเชื้อโรค อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดของรังสีอุลตร้าไวโอเลตเองที่มีฤทธิ์ในการทำลาย
เพียงแค่ผิวในระดับหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้การใช้สารเคมียังอาจทำให้เกิดสารตกค้างอีกด้วย การ
นำโอโซนไปใช้ในการอบห้องผ่าตัดเป็นเวลา 4 ชั่วโมงแล้วทิ้งไว้ก่อนเข้าทำการผ่าตัดน่าจะเป็นทาง
ทางเลือกใหม่สำหรับการแพทย์ในปัจจุบัน
....... การศึกษาวิจัยครั้งนี้จะทำขึ้นที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี โดยมี
การเพาะเชื้อจากมือแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดและอากาศภายในห้องผ่าตัดก่อนและหลังการใช้โอโซน
แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน


EFFECT OF OZONE ON BACTERIA AND MICROBES

    
1. Computer generated image of a bacteria cell.
2. Close-up of ozone molecule coming into contact with bacterial wall.
3. Ozone penetrating and creating hole in bacterial wall.
4. Close-up effect of ozone.
5. Bacterial cell after a few ozone molecules come into contact.
6. Destruction of cell after ozone (cell lysing).
 
 
 
 
IDEAL FOR WATER TREATMENT

We use a world-wide leader tecnology with surprising price for both domestic and industrial installations. Our equipments don't need air treatment and have a 99,9% ozono purity. The Water Purification System can be easily installed in new swimming-pools and adapted to built ones. It is fixed quickly to circulating water.This system generates ozone and injects it in the circulation, where water is purify instantly. During this process, the ozone destroys biologically bacteria, virus and algae, and corrodes metals so that they can be easily eliminates by the filter.
 
The ozone reaches results in water in a natural and ecological way never reached before by any other method. It improves taste, odour and colour attacking bacteria and virus. The ozone has been used for more than 100 years. In the USA the EPA has declared ozone as essential to get drinking water in the purification systems
ตอบตอบ ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
269  ขายที่ดิน / ที่ดิน(ทั่วไป) / Re: ทำความรู้จัก อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดโคราช [Wang Nam Khiao] เมื่อ: 19 มกราคม 2556 10:35:44
ก๊าซโอโซนคืออะไร

ขอย้อนทำความเข้าใจอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้รู้จักกับก๊าซโอโซนมากขึ้นดังนี้ ก๊าซโอโซนคืออะตอมของออกซิเจน 3 อะตอม
รวมกันเป็น 1 โมเลกุลของโอโซน (O3) ตามปรกติออกซิเจนจะประกอบกันในลักษณะ 2 อะตอม เป็น 1 โมเลกุล (O2)
ซึ่งมีคุณสมบัติต่างกันมากคือ O2 จะสามารถคงสภาพอยู่ได้หลายสภาวะ หรือ กล่าวได้ว่ามีความเสถียร (Stable) นั่นเอง
แต่ก๊าซโอโซน (O3) จะไม่คงตัวหรือไม่เสถียร (Ustable) เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น อุณหภูมิ ความร้อน ความดัน
และการสัมผัสกับสารที่มีพลังงานต่ำกว่าจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) อย่างรวดเร็ว ซึ่ง O3 มีปฏิกิริยาสูงถึง
2.07 Volt (Oxidation Potential)

การทำปฏิกิริยาสลายกลิ่นแอมโมเนีย
3O3 + 2NH3    ===>   N2 + 3H2 O + 3O2
การทำปฏิกิริยาสลายพิษคาร์บอนมอนอกไซด์
O3 + CO   ===>   CO2 + O2     

จุดเด่นของก๊าซโอโซน
1. ฆ่าเชื้อโรคได้รวดเร็ว โดยเฉพาะ แบคทีเรีย(ทำให้เกิดโรคและกลิ่นเหม็น) ที่ความเข้มข้นเพียง 0.01-0.04 PPM
2. ทำลาย กลิ่น สารเคมี และก๊าศพิษได้ดีเยี่ยม
3. ไม่ทิ้งพิษตกค้าง เพราะเมื่อทำปฏิกิริยากับมลพิษเสร็จทุกครั้ง จะได้ ออกซิเจน (O2)จึงเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี
4. สามารถ ผลิตขึ้นได้จากอากาศทั่วไป และบริเวณที่มีไฟฟ้าใช้
5. สามารถควบคุมได้ง่ายอย่างอัตโนมัติ
6. ค่าใช้จ่ายในการใช้งานและบำรุงรักษาต่ำมากและใช้ได้ตลอดไป ไม่ต้องคอยเปลี่ยนอันใหม่ เหมือนสารเคมีดับกลิ่นอื่นๆ

เนื่องจากโอโซนมีข้อดีต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าเชื้อ กำจัดมลพิษ  จึงทำให้เราพบเห็นการนำโอโซนไปใช้งานอย่าง
กว้างข้าง เช่น โรงงานผลิตน้ำดื่มผ่านการฆ่าเชื้อด้วยน้ำโอโซน , เครื่องฟอกอากาศ , เครื่องปรับอากาศในบ้าน เป็นต้น
ตอบตอบ ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
270  ขายที่ดิน / ที่ดิน(ทั่วไป) / Re: ทำความรู้จัก อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดโคราช [Wang Nam Khiao] เมื่อ: 19 มกราคม 2556 09:51:01
โอโซน

โอโซน (Ozone หรือ O3) เป็นโมเลกุลที่ประกอบจากออกซิเจน 3 อะตอม ปรากฏอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก และมีการใช้งานในทางอุตสาหกรรมและเครื่องใช้ตามบ้านทั่วไป โอโซนถูกค้นพบครั้งแรกโดย คริสเตียน ฟรีดริช เชินไบน์ (Christian Friedrich Schönbein) นักเคมีชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1840 โดยตั้งชื่อตามภาษากรีกคำว่า ozein ซึ่งแปลว่ากลิ่น

โอโซนเข้มข้นมีสีฟ้าที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน (Standard Temperature and Pressure; STP) เมื่ออุณหภูมิลดลงถึง -112 °C โอโซนจะเป็นเป็นของเหลวสีน้ำเงิน และเมื่ออุณหภูมิลดต่ำกว่า -193 °C ก็จะกลายเป็นของแข็งสีดำ

เรานำโอโซนไปใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น นำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเคมีภัณฑ์ นำไปใช้เป็นสารซักฟอก ใช้ฆ่าแบคทีเรีย ฯลฯ


โอโซนในทางเคมี
แก๊สโอโซนเป็นตัวออกซิไดส์ที่ดีมาก และในขณะเดียวกันก็เป็นสารที่ไม่อยู่ตัว มักจะสลายเป็นแก๊สออกซิเจนได้ง่าย ดังสมการ

    2 O3 → 3 O2

ถ้าเราเพิ่มอุณหภูมิและลดความดัน ปฏิกิริยาข้างต้นจะไปข้างหน้าได้เร็วมาก โดยปกติโอโซนมักออกซิไดส์โลหะ (ยกเว้นทองคำ แพลทินัม และแพลเลเดียม) ให้มีเลขออกซิเดชันสูงขึ้น
ตอบตอบ ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 21

:: ข้อตกลงร่วมกัน ::
ห้ามโพสต์รูปลามก หรือสิ่งผิดกฏหมายทุกประเภท
ห้ามโพสต์ข้อความที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ห้ามใช้วาจาไม่สุภาพ หรือด่าทอ ข้อความหรือเนื้อหาที่เกิดขึ้น ผู้โพสต์ต้องเป็นคนรับผิดชอบเท่านั้น หากเราตรวจสอบว่ามีการโพสต์รูปลามก หรือทำสิ่งผิดกฎหมาย
เราจะลบโพสต์ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า




คลิกที่นี่ -->> จัดพระของขวัญเข้ารุ่นและพิมพ์

Powered by SMF | SMF © 2011, Simple Machines | Sitemap | Cityscape design by Bloc | XHTML | CSS
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.498 วินาที กับ 22 คำสั่ง