ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

LogoThai.COM
LOGOthai.com

คลิกที่นี่ -->> เปรียบเทียบทำเลและราคาที่ดินวังน้ำเขียวผ่าน GooleMAP | คลิกที่นี้ -->> Upload ภาพ

  แสดงกระทู้
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21
286  สารสนเทศน่ารู้ ตลาดสด บันเทิงกระจาย / ภาพและเสียงเพื่อความบันเทิง / ดีไซน์ภาพด้วยสปีดชัตเตอร์ (Speed Shutter) เมื่อ: 18 มกราคม 2556 12:12:18
คราวนี้ เรามาดูกันอีก 1 องค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการถ่ายภาพ คือ Speed Shutter ค่ะ

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=kKoK8QD5XQ4" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=kKoK8QD5XQ4</a>


เรามารู้จัก Nature ของ Speed Shutter กันก่อนดีกว่า

Speed Shutter พูดภาษาชาวบ้านเค้าจะเรียกว่า ตัวใช้หยุด Movement

เอาง่ายๆ ก่อนนะคะ ถ้าเกิดว่า เราได้ไปสวนสัตว์ เราต้องการจับภาพท่าทางน่ารักๆ ของสัตว์ หรือภาพที่เป็น Shot เด็ดๆ การใช้ Speed Shutter จะทำให้เราได้ภาพค่ะ อย่างภาพนี้ จับจังหวะ นกบินรอดห่วงได้



หรือ ฮิปโปที่กำลังกินน้ำ อยากได้ภาพที่ ฮิปโปกินน้ำ แล้วเห็นน้ำเป็นเม็ดๆ แบบนี้ Speed Shutter ช่วยคุณได้ค่ะ แล้วมันไป Set ที่ตรงไหนกันละเนี่ย??



ตรงนี้ค่ะ ค่า Speed Shutter อยู่ตรงนี้ (ตามภาพด้านล่าง)
เห็นค่า 1/200 ใช่มั้ย ให้มองมันเป็นเลขเศษส่วน ก็จะร้องอ๋อกันเลยทีเดียว พูดง่ายๆ ว่า
1 คือ 1วินาที ดังนั้น 1/200 คือความเร็ว Speed Shutter ที่ไม่ถึง 1 วินาที นั่นเอง
ตัวส่วนมาก Speed Shutter ก็จะยิ่งเร็ว
ตัวส่วนน้อย Speed Shutter ก็จะยิ่งช้า
1/200 ย่อม ช้ากว่า 1/1000 แน่นอน ถูกต้องมั้ยคะ
ลองเลื่อนรูรับแสงดูค่ะ เลื่อนให้แคบลงนะ จะเห็นค่าที่หลากหลายของ Speed Shutter เช่น 1/15, 1/50 เป็นต้น หรือ 1"6, 2"3, 15'', สูงสุดคือ 30" ถ้าเห็นแบบมันคือ 1.6 วินาที, 2.3 วินาที, 15 วินาที, และ 30 วินาที



ก่อนอื่นเราก็ Set ไปที่โหมด TV (Time Value) การ Set เป็น TV คือการให้ความสำคัญที่ Speed Shutter โดยค่า F จะแปรผันเปลี่ยนไปตามการปรับ Speed Shutter กรณีนี้ ทำให้เราสะดวกมากขึ้น ถ้าเรารู้อยู่แล้วว่า เราต้องการ Speed Shutter เท่าไร อย่างการถ่ายภาพนกบินแบบนี้ ตั้งไว้ที่ 1/800 หรือ ภาพฮิปโปกินน้ำ ก็ตั้งไว้ที่ 1/1000 ค่ะ

(ถ้าเป็น AV เป็นการให้ความสำคัญกับการปรับรูรับแสง หรือค่า F ดังนั้น การปรับค่า F ตัว Speed Shutter จะแปรผันเปลี่ยนไปตามค่า F ที่เราตั้งค่ะ)



ที่นี้ มาลองดูการหยุดคนกระโดดด้วย Speed Shutter ดูค่ะ

อย่างคนกระโดด เป็นภาพ Top Hit ติดชาร์จของการถ่ายภาพจริงๆ แอบคิดมาก่อนในใจว่า Speed Shutter 1/200 น่าจะหยุดคนได้นิ่งพอสมควร



แล้วถ้า Speed Shutter ช้าลงมากๆ จะเกิดอะไรขึ้น สังเกตดูในภาพนะคะ ส่วนของขา+เท้าทั้ง 2 ข้างเบลอ ดูมีการขยับ



อย่างภาพสนามเด็กเล่นภาพนี้ สังเกตดูว่า ภาพจะชัดทีเดียว



แต่ภาพด้านล่างนี้ เด็กมีการเคลื่อนไหว ภาพเบลองไม่ชัดเท่าไร (ทั้งนี้ก็แล้วแต่ว่าเราต้องการภาพสไตล์ไหน เพราะภาพเบลอๆ จากการขยับทำให้เราเห็น Movement ของเด็กๆ)



แต่บางครั้ง ภาพที่เราดีไซน์ไว้ ก็ไม่จำเป็นจะต้องหยุดทุกสิ่งอย่างในภาพ เพราะเราอาจจะสร้างมุมมองที่แตกต่างก็ได้ อย่างเช่นภาพนี้ ต้องการสื่อตัวแบบที่ยืนอยู่ท่ามกลางความโกลาหล ในตลาด ก็ได้ภาพอีกสไตล์หนึ่งที่น่าสนใจ






เหลืออีก 1 องค์ประกอบค่ะ ที่ต้องใช้ในการถ่ายภาพ ก็คือ ISO นั่นเอง อ่านต่อที่ Link นี้ได้เลยค่ะ
http://www.ilovetogo.com/Article/102/2189/ISO-คืออะไร-เป็นประโยชน์อย่างไรกับการถ่ายรูป
287  สารสนเทศน่ารู้ ตลาดสด บันเทิงกระจาย / ภาพและเสียงเพื่อความบันเทิง / ISO คืออะไร เป็นประโยชน์อย่างไรกับการถ่ายรูป เมื่อ: 18 มกราคม 2556 12:11:27
มาถึงองค์ประกอบสำคัญสุดท้ายสำหรับการถ่ายภาพกันแล้วนะคะ องค์ประกอบนี้คือ ISO

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=r3jq4dwxe9s" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=r3jq4dwxe9s</a>


การจะพูดถึง ISO ถ้าจะบอกว่า เป็นค่าความไวแสง คนที่เพิ่งจับกล้อง DSLR มือใหม่ ก็อาจจะงง ดังนั้น ให้มองเป็น ความเข้าใจแล้วกันค่ะ ว่า ISO มันทำหน้าที่อะไร

ISO ใช้ในเวลาที่เราต้องถ่ายรูปในที่แสงน้อย ที่มืด หรือถ่ายภาพในเวลากลางคืน

สังเกตดูนะคะ เวลาที่เราถ่ายรูปในที่แสงไม่พอ หรือตอนกลางคืน ทำไมเราถึงได้ภาพออกมาเบลอๆ ไม่ชัด เป็นเพราะว่า เวลาถ่ายรูปในที่แสงน้อย Speed Shutter ที่ได้ ก็จะน้อย แล้วเวลาที่เรากด Shutter ลงไป กล้องก็สั่น หรือแม้แต่การเล็งนานๆ ก็ทำให้มือสั่นได้ พอถ่ายภาพออกมา ภาพก็เบลอแน่นอนค่ะ

แล้วถ้าเราอยากได้ภาพที่ ไม่เบลอ ชัดเจน ในที่แสงน้อย หรือตอนกลางคืน เราจะทำยังไง ISO ช่วยคุณได้ค่ะ

ภาพนี้คือ ค่า ISO



เราต้องเพิ่มค่า ISO ขึ้นมาให้ได้ Speed Shutter ที่จะทำให้เราได้ภาพชัดให้ได้ (ถือกล้องได้ภาพไม่สั่นไหว) โดยปกติ เวลาเราถ่ายรูปในที่แสงพอ เราจะตั้งค่า ISO ไว้ที่ 100



แล้วทีนี้ Speed Shutter เท่าไรล่ะ ที่จะทำให้เราได้ภาพชัด ภาพไม่เบลอเพราะมือสั่น ??
ตามกูรูกล้อง เค้าบอกว่า ให้เราดูว่า ทางยาวโฟกัสที่ใช้ในการถ่ายภาพตอนนั้น เราใช้ทางยาวโฟกัสเท่าไร ถ้ายกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย จะขอยกเลนส์ Fix 50 mm.
Fix 50 mm = Speed Shutter 1/50 ขึ้นไป
Fix 100 mm = Speed Shutter 1/100 ขึ้นไป
แต่ถ้าเป็นเลนส์ที่มันปรับทางยาวโฟกัสได้ คือ Zoom เข้า Zoom ออก เลนส์ลักษณ์นี้ ให้ดูที่ตัวเลนส์ว่า เราหมุนไว้ที่ตัวเลขเท่าไร ก็ต้องได้ Speed Shutter ตามนั้น เช่น เลนส์ 10-22 mm. เรา Zoom สุดเลย มาที่ 22 mm Speed Shutter ที่ได้ ควรจะ 1/25 หรือ 1/30 ขึ้นไป (Speed Shutter ที่ 1/22 มันไม่มีค่ะ)

ตัวอย่างภาพด้านล่างนี้ เป็นการถ่ายรูปในที่แสงน้อย ด้วยเลนส์ Fix 50 mm. Speed Shutter ก็น้อย 1/8 ใช้ ISO 100 เถือถ่ายไป ได้ภาพแบบนี้ออกมา ไม่คุ้มเลย



คิดได้ ไม่ดื้อดึง เพิ่ม ISO เป็น 200 ได้ Speed Shutter 1/50 ได้ภาพชัดเจนติดไม้ติดมือกลับบ้าน สบายใจ Cheesy



ทีนี้ เราก็รู้แล้วว่า เราต้องดัน ISO ไปจนให้ได้ Speed Shutter เท่าไร ถึงจะได้ภาพกลับบ้าน อาจจะเกิดคำถามต่อว่า ทำไมเราไม่ดัน ISO สูงๆ ไปเลยอ่ะ ได้ภาพแน่นอน ใช้เลนส์ที่มัน Zoom เข้าๆ ออกๆ อ่ะ ขี้เกียจดูเลนส์

ถ้าย้อนกลับไปภาพข้างบน จะเห็นว่า กล้องมีค่า ISO ให้เราดันได้ถึง 6400 (ถ้าเป็นกล้องรุ่นอื่นอาจสูงกว่านี้) ก็ลองดันดูก็ได้ค่ะ ก็จะได้ภาพแบบนี้กลับบ้าน Noise กระจายขายปลาช่อนมาก ถามจริงๆ ว่า ภาพแบบนี้ เราโอเคหรอ เอาเป็นว่า ดัน ISO พอให้ภาพไม่เบลอดีกว่าค่ะ



มาถึงตรงนี้ คิดว่า ทุกคนคงจะเห็นความสัมพันธ์กันบ้างแล้วใช่มั้ยคะ ระหว่าง Speed Shutter กับ ISO มันสัมพันธ์กันแบบไปในทิศทางเดียวกัน คือ
ISO เพิ่ม = Speed Shutter เพิ่ม
ISO ลด = Speed Shutter ลด

แต่เวลาที่เราถ่ายภาพจริงๆ เราก็ไม่ลืมที่จะตั้งค่า รูรับแสง หรือค่า F เพราะเวลาเราจะถ่ายภาพอะไรซักภาพ เราก็มักจะคิดไว้ก่อนเสมอว่า หลังจากที่กด Shutter แล้ว เราอยากได้ภาพแบบไหน ชัดลึก ชัดตื้น เบลอหน้า เบลอหลัง กรณีนี้ จะขอพูดถึงในโหมด AV นะคะ เป็นโหมดที่เหมาะมากๆ กับมือใหม่ DSLR อย่างพวกเรา

คืออยากให้ทุกคน เน้นที่การดีไซน์ภาพเป็นหลัก ว่าเราอยากได้ภาพแบบไหน แล้วเราให้ ISO กับ Speed Shutter เป็นตัวช่วย

อย่างเช่นในภาพนี้ ตั้งใจไว้เลยว่า อยากได้ภาพแบบชัดลึก หรือชัดทั้งภาพ ก็เลยตั้งค่า F 5 (จะค่อนข้างชัดลึก) และในที่นี้ แสงน้อยซะแล้ว Speed Shutter ไม่ได้ 1/50 แหงๆ หนีไม่พ้นต้องดัน ISO ซะแล้วค่ะ ภาพนี้ ดัน ISO ไป 400 เลย ได้ Speed Shutter 1/60 ได้ภาพกลับบ้านอย่างที่ตั้งใจไว้



แต่บางคน ก็ไม่อยากดัน ISO เพราะไม่อยากได้ Noise ก็เลยยอมลดทอนการ ดีไซน์ภาพลงบ้าง ยอมได้ที่จะไม่ชัดลึก ก็เลยใช้วิธีเปิดรูรับแสงกว้างๆ คือตั้งค่า F ให้น้อยลง อย่าง 1.8 แล้ว โฟกัสไปที่เศียรของพระ ภาพที่ได้ ก็เลยชัดช่วงเศียร ช่วงตัวเบลอ แบบนี้ ขึ้นอยู่กับความพอใจแล้วล่ะค่ะ



มาถึงจุดนี้ ก็คงจะเห็นภาพใช่มั้ยคะ ว่ามันสัมพันธ์กันยังไง มันก็อยู่ที่เราเอาอะไรเป็นตัวตั้งค่ะ

ขอสรุปความสัมพันธ์ให้เห็นชัดๆ ดังนี้

F น้อย = Speed Shutter มาก
F มาก = Speed Shutter น้อย

Speed Shutter น้อย = ISO น้อย
Speed Shutter มาก = ISO มาก

สิ่งที่แนะนำให้ทำ อยากให้เน้นที่การดีไซน์ภาพ และไม่ลืมที่จะดู Speed Shutter ทุกครั้งว่าเราถือถ่ายได้มือไม่สั่น ก็จะทำให้เราได้ภาพไม่เบลอค่ะ
288  สารสนเทศน่ารู้ ตลาดสด บันเทิงกระจาย / ภาพและเสียงเพื่อความบันเทิง / แสง-Speed Shutter-ISO ความสัมพันธ์เป็นอย่างไร เมื่อ: 18 มกราคม 2556 12:10:29
จาก Tip ถ่ายรูป 3 เรื่องที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น รูรับแสง Speed Shutter และ ISO ทั้ง 3 เรื่องนี้ จะสัมพันธ์กันอยู่ค่ะ จริงๆ แล้วจะเริ่มกล่าวถึงความสัมพันธ์กัน ตั้งแต่เรื่อง ISO แล้ว เพราะว่า เราจะใช้ ISO เพื่อวัตถุประสงค์คือ เมื่อเราต้องถ่ายรูปในที่แสงไม่พอ เราจึงเพิ่มค่า ISO ถูกต้องมั้ยคะ เมื่อสมัย เก้าเริ่มถ่ายรูปใหม่ๆ เก้าก็จะสงสัยว่า แล้วเก้าต้องเพิ่ม ISO เท่าไร ภาพถึงจะไม่เบลอ เพราะ ISO มีตั้้งหลายค่าให้เราตั้ง ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของความสัมพันธ์ ถ้าใครอยากอ่านรายละเอียด ก็ย้อนกลับไปอ่านได้นะคะ

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=kpXIlKQ0HjE" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=kpXIlKQ0HjE</a>


จากที่ได้พูดความสัมพันธ์ไปแล้ว เก้าว่า หลายๆ คนก็อาจจะงงๆ คือคนที่ไม่เคยใช้ DSLR มาก่อน เก้าว่าน่าจะงงกันทุกคนแหล่ะ ไม่ต้องน้อยใจว่าทำไมชั้นไม่รู้เรื่อง สำหรับ Content นี้ จะเป็นการยกตัวอย่างความสัมพันธ์ ให้เห็นเป็นภาพ อย่างที่กูรูกล้องเค้าชอบใช้กันโดยยกตัวอย่างโดยใช้ สิ่งที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน นั่นคือ ก๊อกน้ำ และแก้วน้ำค่ะ ดูภาพด้านล่างนี้

ดูทางซีกซ้ายก่อนนะ กำหนดเป้าหมายคือ เราต้องการรองน้ำให้เต็มแก้ว
เรามี ก๊อกน้ำ (มีให้เลือกเฉพาะเปิดกับปิดเท่านั้นนะ)
เรามี แก้วน้ำ
เราเริ่มทำตามเป้าหมายของเราเลย คือ เปิดก๊อกน้ำ, รองน้ำให้เต็มแก้ว, แล้วปิดน้ำ ทำให้เรารู้ว่า เราต้องเปิดก๊อกนาน 2 วินาที น้ำจึงจะเต็มแก้ว

ดูทางซีกขวา เรามีเป้าหมายเดียวกันคือ รองน้ำให้เต็มแก้ว
เรามี ก๊อกน้ำ (สังเกตว่า ขนาด เล็กกว่า ก๊อกทางซีกซ้าย)
เรามี แก้วน้ำ (สังเกตว่า ขนาด เท่ากัน กับแก้วทางซีกซ้าย)
เราเริ่มทำตามเป้าหมายของเรา คือ เปิดก๊อกน้ำ, รองน้ำให้เต็มแก้ว, แล้วปิดน้ำ ทำให้เรารู้ว่า สำหรับก๊อกที่เล็กลง เราต้องเปิดก๊อกนานขึ้นจาก 2 วินาที เป็น 6 วินาที น้ำจึงจะเต็มแก้ว.............พูดง่ายๆ ก็คือ ..............
ถ้า ก๊อกน้ำเราใหญ่ เราก็ เปิดก๊อกแป๊ปเดียว น้ำก็เต็มแก้วแล้ว (นึกภาพต่อไปอีกหน่อย ถ้าเราเปิดนานไป น้ำล้นออกจากแก้วแน่นอน)
ถ้า ก๊อกน้ำเราเล็ก เราก็ เปิดก๊อกนานหน่อย น้ำจึงจะเต็มแก้ว (นึกภาพต่อไปอีกหน่อย ถ้าเราเปิดสั้นเกินไป น้ำก็จะไม่เต็มแก้วแน่นอน)



เมื่อเข้าใจตามนั้นแล้ว เรามาเปรียบเทียบกับ การถ่ายรูปดีกว่า
น้ำที่เต็มแก้ว = ภาพที่มีแสงพอดี (เพื่อนำไปใช้งานได้)
ก๊อกน้ำ = รูรับแสง
เปิดก๊อกน้ำนานแค่ไหน (กี่วินาที) = เปิด Speed Shutter นานแค่ไหน
ถ้า รูรับแสงเรากว้าง (ก๊อกน้ำใหญ่) เรา เปิด Speed Shutter แป๊ปเดียว เพื่อให้ได้ภาพที่มีแสงพอดี
ถ้า รูรับแสงเราแคบ (ก๊อกน้ำเล็ก) เรา เปิด Speed Shutter นานหน่อย เพื่อให้ได้ภาพที่มีแสงพอดี

พอจะนึกออกบ้างแล้วใช่มั้ยคะ



จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเราทำพลาด
ก๊อกน้ำใหญ่ เปิดน้ำนานไป = รูรับแสงกว้าง เปิด Speed Shutter นานไป
น้ำล้นออกจากแก้ว = ภาพที่ได้แสงล้นเกินไป (ภาพสว่างจ้า)

ตัวอย่างภาพ ด้านล่างนี้ค่ะ - นี่คือลักษณะของภาพที่แสงล้น (แสง Over) คือ ณ เวลาที่เก้าถ่ายภาพนี้ เป็นเวลาประมาณ 9 โมงเช้า แดดสดใสมากๆ ที่ ISO 100 (แสงพออยู่แล้ว ไม่อยากได้ภาพมี Noise) เก้าตั้งค่า F2.8 รูรับแสงกว้างทีเดียวล่ะ (เพราะเก้าอยากถ่ายภาพสไตล์ชัดตื้น ต้องการละลาย Backgroud ด้านหลังทิ้งไป) เก้าตั้งค่า Speed Shutter 1/100 ถือว่า นานเกินไป  ก็เลยได้ภาพแบบนี้มา -_-'' นักท่องเที่ยวอย่างเรา ย่อมไม่พอใจแน่นอน



แล้วทีนี้ เราก็ทำพลาดอีก เพราะเราก็ไม่มีความพอดีเท่าไร (ฮ่าๆๆ)
ก๊อกน้ำใหญ่ก็จริง เปิดน้ำแป๊ปเดียวเกินไป = รูรับใหญ่ก็จริง แต่เปิด Speed Shutter สั้นไปมาก
น้ำยังไม่เต็มแก้ว = ภาพที่ได้แสงน้อยเกินไป (ภาพมืด)

ตัวอย่างภาพ ด้านล่างนี้ค่ะ - นี่คือลักษณะของภาพที่แสงไม่พอ มันดูมืดเกินไปกว่าความเป็นจริง คือ ณ เวลาที่เก้าถ่ายภาพนี้ เป็นเวลาประมาณ 9 โมงเช้า แดดสดใสมากๆ ที่ ISO 100 (แสงพออยู่แล้ว ไม่อยากได้ภาพมี Noise) เก้าตั้งค่า F2.8 รูรับแสงกว้างทีเดียวล่ะ (เพราะเก้าอยากถ่ายภาพสไตล์ชัดตื้น ต้องการละลาย Backgroud ด้านหลังทิ้งไป) แต่เก้าตั้งค่า Speed Shutter 1/2000 ถือว่า สั้นเกินไป ก็เลยได้ภาพแบบนี้มา -_____-'' นักท่องเที่ยวอย่างเรา เกิดความไม่พอใจอีกครั้ง



คราวนี้ เรามาดูที่ความพอดีกันดีกว่าค่ะ เราเริ่มกลับมาปกติอีกครั้ง
ก๊อกน้ำใหญ่ ระยะเวลาการเปิดน้ำพอดี = รูรับใหญ่ เปิด Speed Shutter พอดี
น้ำเต็มแก้ว = ภาพที่ได้แสงพอดี (ภาพที่ได้ตรงกับความเป็นจริง)

อย่างภาพด้านล่างนี้ - คือภาพที่แสงพอดี อย่างที่ตาเก้าเห็น ณ เวลาที่เก้าไปถ่ายรูปนี้ค่ะ คือ เวลา 9 โมงเช้า แดดสดใส ที่ ISO 100 (แสงพออยู่แล้ว ไม่อยากได้ภาพมี Noise) เก้าตั้งค่า F2.8 รูรับแสงกว้างทีเดียวล่ะ (เพราะเก้าอยากถ่ายภาพสไตล์ชัดตื้น ต้องการละลาย Backgroud ด้านหลังทิ้งไป) แต่เก้าตั้งค่า Speed Shutter 1/1000 ถือว่าพอดี ก็เลยได้ภาพแบบนี้มา ^O^ นักท่องเที่ยวอย่างเราก็สมใจแล้วค่ะ



ทีนี้ เรามาเพิ่มปัจจัยกันอีกสักหน่อย เมื่อกี้ก๊อกน้ำเล็กใหญ่มาแล้วใช่มั้ยคะ ถ้าแก้วน้ำเล็กใหญ่ไม่เท่ากันบ้างล่ะ

ที่ก๊อกน้ำขนาดเท่ากัน แต่แก้วน้ำขนาดไม่เท่ากัน

ภาพทางซีกซ้าย แก้วน้ำใบใหญ่ เปิดก๊อกน้ำนาน 6 วินาที น้ำจึงเต็มแก้ว
ภาพทางซีกขวา แก้วน้ำใบเล็กกว่า เปิดก๊อกน้ำนาน 2 วินาที น้ำจึงเต็มแก้ว

แน่นอนค่ะ แก้วใบใหญ่กว่า ก็เปิดก๊อกน้ำนานกว่าอยู่แล้ว

แก้วน้ำใบใหญ่ เรารองน้ำเต็มแก้ว แน่นอนกว่า เราได้น้ำไปใช้เยอะ เช่น เอามาดื่มจนหมดแก้ว เราก็หายหิวน้ำ เอาไปรดน้ำต้นไม้ในกระถาง หรือว่า แก้วใหญ่แบบซุปเปอร์ใหญ่ ก็เอามาอาบน้ำได้ เป็นต้น

แก้วน้ำใบเล็ก เรารองน้ำเต็มแก้ว แน่นอนว่า เราได้น้ำไปใช้น้อย เช่น เอามาได้แค่จิบๆ พอหายหิวน้ำลงบ้าง แต่ยังหิวน้ำอยู่ เอามาล้างหน้า พอให้ตื่น แต่ก็ไม่พออาบทั้งตัว เป็นต้น



มาเทียบกับการถ่ายรูปดูค่ะ

น้ำที่เต็มแก้ว = ภาพที่มีแสงพอดี (เพื่อนำไปใช้งานได้)
ก๊อกน้ำ = รูรับแสง
เปิดก๊อกน้ำนานแค่ไหน (กี่วินาที) = เปิด Speed Shutter นานแค่ไหน
แก้วน้ำ = ISO
แก้วน้ำใบใหญ่ = ISO น้อย (ISO 100)
แก้วน้ำใบเล็ก = ISO มาก (ISO 6400)

แก้วใบเล็ก ก็เหมือนกับเราเปิด ISO สูง เช่น 6400 ภาพที่ได้คือภาพที่มี Noise มาก  เอาไปทำอะไรได้บ้าง  เอามาย่อลงเว็บ พอย่อแล้ว เราก็จะไม่ค่อยเห็น Noise เท่าไร  ก็ยังพอใช้ได้

แก้วใบใหญ่ ก็เหมือนเราเปิด ISO ต่ำ เช่น 100 ภาพที่ได้คือภาพที่ไม่มี Noise เลย เอาไปทำอะไรได้บ้าง  เอาไปทำสิ่งพิมพ์ ทำ Billboard ทำ Cut out หรืออะไรก็ตามที่ต้องใช้ Quality ของภาพสูง เช่นเอาไปลงนิตยสาร หรือแม้แต่เอามาลงเว็บก็ได้ด้วย พูดง่ายๆว่า เอาไปทำอะไรได้เยอะกว่าค่ะ



เพื่อความเข้าใจ เก้าก็จะขอสรุปให้ฟังตามภาพนี้นะคะ (จะสังเกตว่า เราไม่ได้พูดถึงสไตล์ภาพกันเลยนะ อยากให้เข้าใจก่อนว่า ปรับอะไร แล้วได้อะไรบ้าง เพราะต้องบอกตรงๆ ว่า การถ่ายภาพ ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวค่ะ มันแล้วแต่วัตถุประสงค์ของคนถ่ายภาพมากกว่า อยากได้ภาพอารมณ์ไหน เอาภาพไปทำอะไร และอื่นๆ อีกมากมาย)



จากที่อ่านมา จะเห็นเก้าใช้คำว่า นานเกินไป สั้นเกินไป อาจจะสงสัยว่า แล้วมันวัดจากอะไรที่ว่า นานไป สั้นไป ??
อาจจะสงสัยว่า ความพอดีอยู่ตรงไหน??
ความพอดี มันเริ่มมาจาก สภาพแสงที่เรามีอยู่ (เช่น กลางวัน กลางคืน กลางคืนแต่มีไฟเยอะ กลางคืนแต่มีไฟน้อย กลางวันแต่ไปอยู่ในที่อับแสง กลางวันอยู่กลางแจ้งสุดๆ) + รูรับแสง + Speed Shutter คือ...

เราต้องสังเกตแสงให้ดี ว่าสถานที่ ที่เราอยู่ แสงเป็นอย่างไร แต่ถ้าใครยังไม่เชี่ยวชาญ ลองให้กล้องเป็นตัวสังเกตก็ได้ค่ะ ถ้ายังจำได้ ถ้าเราปรับกล้องไปที่โหมด AV เวลาที่เราเปลี่ยน ค่า F (ค่ารูรับแสง) Speed Shutter จะเปลี่ยนตามรูรับแสง เก้าจะขอยกตัวอย่างนะคะ

โดยปกติเก้าจะใช้โหมด AV ในการถ่ายรูป (เพราะมันง่ายดี) เก้าใส่เลนส์ Fix 50 mm. ทีนี้ เก้ายังไม่ชำนาญพอในการจะดูด้วยตาเปล่า ก็รู้ว่า แสงพอหรือเปล่า เก้าก็เลยใช้วิธี กดปุ่มโฟกัส ทำท่าว่าจะถ่ายรูป สมมุติว่า เก้าจะถ่ายภาพดอกไม้ใกล้ๆ อยากได้สไตล์ภาพ ชัดตื้น ตัวแบบชัด Bckground เบลอ เก้าก็เลยปรับค่า F1.8 กล้องจะแสดงค่า Speed Shutter ถ้า Speed Shutter แสดงค่าส่วน น้อยกว่าทางยาวโฟกัสของเลนส์ เก้าถือว่า ณ ที่นั้น แสงไม่พอค่ะ

อย่างเช่น ถ้า Speed Shutter แสดงค่าเป็น 1/25 ส่วนมีค่าเป็น 25 น้อยกว่าทางยาวโฟกัสของเลนส์ Fix 50 mm. ซึ่งเก้าถ่ายออกมาเบลอแน่นอนเพราะมือสั่น มันทำให้เก้าต้องเพิ่ม ISO เก้ามองว่า นี่คือแสงไม่พอ

Note :
แสงจากดวงอาทิตย์ จะมีพลังแรงกว่าแสงจากหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ (ถึงแม้ว่าเราจะรู้สึกว่าแสงในห้องสว่างมากก็ตามที) ดังนั้น ถ้ารูรับแสงและ ISO เท่ากัน ถ้าถ่ายรูปกลางแจ้ง Shutter Speed จะเร็วกว่าถ่ายรูปในห้องที่ใช้หลอดฟลูออเรสเซ็นต์ !!!



เก้าหวังว่า อ่านมาถึงตรงนี้ พอจะเข้าใจกันมากขึ้นแล้วนะคะ ถ้าเข้าใจมากขึ้น ก็จะทำให้คุณสามารถประยุกต์ใช้งานกันได้หลายสถานการณ์เลยทีเดียวล่ะ ถ้ามีคำถามอะไร ก็โพสท์ถามมาได้เลยนะคะ จะพยายามหาคำตอบมาให้ได้ค่า

พอเริ่มใช้งานอุปกรณ์กันคล่องแล้ว ก็ลองมาดูเทคนิคการจัด Compose ภาพให้สวยกันบ้างเนอะ ภาพที่เราจะมีเก็บไว้เป็นความทรงจำว่า แหม ไปเที่ยวซะไกล ไปทั้งที ได้ภาพเชยๆ กลับมา

ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพกันทุกคนนะคะ ^^/
289  สารสนเทศน่ารู้ ตลาดสด บันเทิงกระจาย / ภาพและเสียงเพื่อความบันเทิง / เจาะลึก ปัจจัย ชัดลึกชัดตื้น (Depth of Field หรือ DOF) เมื่อ: 18 มกราคม 2556 12:09:34
หลังจาก Content ชัดลึกชัดตื้นผ่านไป (ดู Content ชัดลึกชัดตื้นที่นี่) คราวนี้เราลองมาดูกันถึงปัจจัยการสร้างชัดลึกชัดตื้นแบบลึกๆ กันดีกว่าค่ะ

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=f9CLKtzY284" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=f9CLKtzY284</a>


ก่อนที่จะไปถึงการสร้างชัดลึกชัดตื้น เราลองมาดูถึงการสื่อความหมายของชัดลึกชัดตื้นกันก่อน

ชัดลึก คือ ชัดทั้งภาพ ตั้งแต่ระยะหน้าไปจนถึงระยะหลัง ชัดหมด
ชัดตื้น คือ ชัดที่ตัวแบบ ที่เหลือเบลอ แบ่งเป็น หน้าชัดหลังเบลอ, หน้าเบลอหลังชัด และ หน้าเบลอหลังเบลอตรงกลางชัด ทั้งหมดถือเป็นชัดตื้นหมด

ชัดลึกชัดตื้นมันเป็นสไตล์ภาพนะ บอกไว้ก่อน ถามว่า เราควรจะเปิดค่า F เท่าไรดี ?? จริงๆ แล้วก็ไม่ได้มีกฎตายตัวนะคะ ไม่มีตัวเลขที่ถูกต้องบอก และไม่อยากให้ไปสนใจตัวเลขมาก อยากให้เน้นที่การสื่อความหมายของภาพมากกว่า ว่าสไตล์ภาพที่เราคิดว่า ใช้ชัดลึกหรือชัดตื้นถึงจะเหมาะสม และสื่อความหมายได้ถูกต้องมากที่สุด

การใช้ชัดลึกชัดตื้นให้สื่อความหมายทำอย่างไร?
ต้องเริ่มจากการตั้งโจทย์ว่า เราต้องการสื่อสารกับคนดูภาพในมุมไหน มีเนื้อหาว่าอย่างไร จึงค่อยเลือกว่าจะใช้ชัดลึกหรือชัดตื้น เช่น ถ้าเราตั้งโจทย์ว่า เราอยากนำเสนอเรื่องราวของ "แสงไฟในเมืองในแง่มุมสวยงาม" เราก็จะเริ่มจินตนาการภาพในหัว และเลือก location ที่จะตอบโจทย์นี้ เช่น ถนนสาทร จากนั้น เราก็เลยคิดว่า แสงไฟในเมือง มันก็ต้องเห็นแสงชัด ตึกชัด ระยิบระยับสิ เพราะถ้าเห็นตึกไม่ชัด ก็ไม่รู้ว่าอยู่ในเมืองสิ ดังนั้นต้องใช้สไตล์ภาพชัดลึก



ถ้าเราโจทย์เราต้องการสื่อว่า "ความน่ารักและสดใสของสัตว์" เราก็จะเริ่มจินตนาการภาพในหัวอีกเหมือนเดิม และ ทำการเลือก location ที่จะตอบโจทย์นี้ เช่น สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จากนั้น เราก็คิดว่า ความน่ารักของและสดใสสัตว์มันต้องเห็นสัตว์ชัดๆ สิ เห็นสีสดๆ ใสๆ สวยๆ สิ่งที่ไม่เกี่ยวก็ไม่ต้องชัดสิ เพราะจะถ่ายความน่ารักสดใสของสัตว์ เราก็เลยเลือกใช้สไตล์ภาพชัดตื้น ที่เห็นสัตว์ชัด แล้วเบลอสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป ซึ่งในภาพ สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องคือฉากหลังของนกที่เป็นป้ายโฆษณา เราก็เลยทำการละลายทิ้งให้สีมันผสมไปมาอย่างที่เห็น ที่สำคัญ เบลอทิ้งแล้วต้องดูไม่ออกว่าฉากหลังมันเป็นป้ายโฆษณานะ



โอเค เรื่องการสื่อความหมายด้วยชัดลึกชัดตื้นก็ประมาณนั้น มาต่อกันด้วยปัจจัยที่ทำให้เกิดชัดลึกและชัดตื้นดีกว่า

ปัจจัยหลักๆ ของชัดลึกชัดตื้นคือ
1. ค่ารูรับแสง
2. ระยะห่างระหว่างแบบกับปลายเลนส์
3. ทางยาวโฟกัส

ทีนี้เราจะมาลองค่อยๆ ทดสอบทีละปัจจัยดีกว่าว่า ปรับอะไรได้อะไรค่ะ

เริ่มจากการปรับค่า รูรับแสง เป็นอันดับแรก

รูรับแสงกว้าง (F น้อยๆ) จะเกิดชัดตื้น
รูรับแสงแคบ (F เยอะๆ) จะเกิดชัดลึก

การทดสอบนี้ใช้เลนส์ 50 ที่ระยะห่างระหว่างปลายเลนส์กับตัวแบบเท่ากัน

ปรับรูรับแสงกว้างที่ F1.8 จะเห็นว่าเกิดชัดตื้นขึ้น



ในทางยาวโฟกัสเท่าเดิมคือ 50mm และระยะห่างระหว่างปลายเลนส์กับตัวแบบเท่าเดิม

ปรับรูรับแสงแคบที่ F22 จะได้ภาพชัดลึก



มาถึงปัจจัยที่ 2 ระยะห่างระหว่างปลายเลนส์กับแบบ

ใช้เลนส์ 18-55 ถ่ายที่ทางยาวโฟกัส 55mm F5.6 แต่เอาปลายเลนส์ไปใกล้แบบ ได้ภาพที่ดูชัดตื้น



ที่ทางยาวโฟกัสเท่าเดิม ค่า F เท่าเดิม เดินออกห่างจากแบบ ได้ภาพที่ดูชัดลึก



ลองซูมภาพเข้าไปดูจะเห็นได้ว่า ป้ายชัด



เปรียบเทียบกันระหว่างทางยาวโฟกัส 55 เท่ากัน F5.6 เท่ากัน แค่เลนส์อยู่ใกล้แบบหรือไกลแบบ ก็ทำให้เกิดชัดลึกชัดตื้นที่ต่างกัน



มาถึงปัจจัยที่ 3 คือ ทางยาวโฟกัสของเลนส์

ทดสอบด้วยเลนส์ 70-200 รูรับแสง F4 ยืนอยู่ใกล้ตัวแบบเท่ากัน ภาพนี้ซูมที่ 200mm จะเห็นว่าได้ภาพชัดตื้น



ที่รูรับแสง F4 ยืนอยู่ใกล้ตัวแบบเท่ากัน แต่ถ่ายที่ทางยาวโฟกัส 70mm ภาพที่ได้จะเกิดชัดลึกกว่า 200mm



ลองเอามาเปรียบเทียบกัน สังเกตุว่า พอซูมภาพที่ทางยาวโฟกัส 70mm เข้าไปให้ตัวแบบใหญ่เท่ากับที่ถ่ายด้วยทางยาวโฟกัส 200mm ที่ทางยาวโฟกัส 70mm จะเกิดชัดลึกกว่า ส่วนที่ทางยาวโฟกัส 200mm จะเกิดชัดตื้น



จากการทดสอบก็ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับปัจจัยชัดลึกชัดตื้นดังนี้
1. รูรับแสง ถ้าค่ารูรับแสงกว้าง (F น้อยๆ) จะได้ภาพชัดตื้น ถ้าค่ารูรับแสงแคบ (F เยอะๆ) จะได้ภาพชัดลึก
2. ระยะห่างจากปลายเลนส์กับแบบ ถ้าเอาเลนส์เข้าใกล้ตัวแบบ จะได้ชัดตื้น แค่ถ้าเอาเลนส์ออกห่างตัวแบบ จะได้ชัดลึก
3. ทางยาวโฟกัสของเลนส์ ถ้าใช้ทางยาวโฟกัสมากๆ จะได้ชัดตื้น ถ้าใช้ทางยาวโฟกัสน้อยๆ จะได้ชัดลึก

ถ้าพูดสั้นๆ จำง่ายๆ ...

เคล็ดวิชา "3 กระบวนท่าชัดลึกชัดตื้น"
- F น้อยชัดตื้น F มากชัดลึก
- ใกล้แบบชัดตื้น ไกลแบบชัดลึก
- ซูมมากชัดตื้น ซูมน้อยชัดลึก

เมื่อเราเข้าใจเคล็ดวิชาชัดลึกชัดตื้นแล้ว เราก็ลองมาทดสอบเอาทั้ง 3 กระบวนท่ามารวมกัน...

ลองทำชัดลึกสุดๆ !!!

- F มาก = ปรับที่ F8
- ไกลแบบ = ถอยออกมาไกลๆ
- ซูมน้อย = ทางยาวโฟกัส 10mm

เลนส์ที่เหมาะกับ 3 กระบวนท่านี้คือ เลนส์ Wide 10-22mm



ลองซูมเข้าไปดูจะเห็นว่าชัดลึกไปถึงข้างหลัง



ทีนี้ เรามาทดสอบโดยการตัดปัจจัยออกไปซัก 1 อย่างดู อยากรู้ว่ายังจะชัดลึกอีกหรือป่าว

*** สำหรับคนที่สงสัยว่า ทำไมต้องมาทดสอบตัดปัจจัย ต้องอธิบายไว้แบบนี้ คือ การทำชัดลึกหรือชัดตื้น ข้อจำกัดส่วนใหญ่อยู่ที่อุปกรณ์และสถานที่ เช่น บางคนไม่มีเลนส์ทางยาวโฟกัสสั้น เช่น 10-22 หรือ บางคนไม่มีเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง เช่น F1.8 หรือ F2.8 หรือ บางสถานที่ค่อนข้างแคบ จะถอยอีกเพื่อใช้ทางยาวโฟกัสยาวๆ ก็ไม่ได้ เป็นต้น ดังนั้น เราเลยทดสอบตัดปัจจัยบางอย่างออก เพื่อจะได้ดูว่า ถ้าไม่มีปัจจัยนั้นๆ แล้ว ยังจะสามารถทำชัดลึกชัดตื้นได้อีกหรือป่าว ***

ดังนั้นการทดสอบชัดลึกนี้ จะทดสอบตัดปัจจัยเรื่อง ทางยาวโฟกัสออกไป เพราะบางคนอาจจะไม่มีเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสสั้นๆ เช่น 10-22mm

เราจะเทสกันที่ทางยาวโฟกัส 200mm ว่าจะยังทำชัดลึกได้อยู่หรือป่าว

ปัจจัยชัดลึก
- F มาก = ปรับที่ F16
- ไกลแบบ = ถอยออกมาไกลๆ
- ซูมน้อย = ทางยาวโฟกัส 10mm ซูมมาก = ซูมไปที่ 200mm

ถ้าให้ตัวแบบใหญ่เท่าๆกับภาพด้านบนที่ถ่ายด้วย 10-22 ได้ภาพประมาณนี้



ลองซูมดู จะเห็นได้ว่าก็ชัดลึกระดับนึง



ลองเปรียบเทียบระหว่างภาพแรกที่ใช้ทางยาวโฟกัสสั้นๆ กับทางยาวโฟกัสยาวๆ จะเห็นว่าได้ชัดลึกระดับนึงเลย



คราวนี้มาถึงการทดสอบที่หลายๆ คนชอบ คือ ชัดตื้น (เป็นเหมือนกันหรือป่าว ที่เปลี่ยนจากกล้อง compact มาเป็น DSLR เพราะอยากถ่ายชัดตื้นได้ อิอิ)

ลองทำชัดตื้นสุดๆ !!!

- F น้อย = ปรับที่ F2.8
- ใกล้แบบ = เข้าไปใกล้แบบมากที่สุดเท่าที่ทำได้
- ซูมมาก = ทางยาวโฟกัส 100mm

เลนส์ที่เหมาะกับ 3 กระบวนท่านี้คือ เลนส์ 100mm F2.8 Macro (จริงๆ เลนส์ที่เหมาะกว่าคือ 70-200 F2.8L IS USM II แต่เราไม่มี...)



ทีนี้ เรามาทดสอบโดยการตัดปัจจัยออกไปซัก 1 อย่างดู อยากรู้ว่ายังจะชัดตื้นอีกหรือป่าว

ดังนั้นการทดสอบชัดตื้นนี้ จะทดสอบตัดปัจจัยเรื่อง รูรับแสงกว้างออกไป เพราะบางคนอาจจะไม่มีเลนส์ทางยาวโฟกัสยาวๆ ที่มีรูรับแสงกว้างๆ เช่น F2.8

เราจะเทสกันที่ F5.6 (เท่าๆ กับเลนส์ที่มือใหม่มักจะใช้กัน เช่น 55-250mm หรือ 18-200mm) ว่าจะยังทำชัดลึกได้อยู่หรือป่าว แต่ขอแอบเพิ่มทางยาวโฟกัสเข้าไปอีก เป็น 200mm นะ เพราะอยากให้เห็นภาพว่า ถ้าเรามีเลนส์ 55-250mm หรือ 18-200mm เราจะทำชัดตื้นได้หรือไม่ และทำได้แค่ไหน

ปัจจัยชัดตื้น
- F น้อย = ปรับที่ F2.8  เปลี่ยนเป็น F 5.6 ซึ่งก็ถือว่าไม่น้อยเท่าไร
- ใกล้แบบ = เข้าไปใกล้แบบมากที่สุดเท่าที่ทำได้
- ซูมมาก = ทางยาวโฟกัส 100mm ขอเพิ่มไปเป็น 200mm เลย

ถ่ายมาแล้วได้ภาพแบบนี้



มาเปรียบเทียบกันระหว่าง F2.8 ที่ทางยาวโฟกัส 100mm กับ F5.6 ที่ทางยาวโฟกัส 200mm จะเห็นได้ว่า ชัดตื้นเกือบจะไม่ต่างกันเลยทั้งๆ ที่ใช้ F5.6 (แต่ต้องยอมรับว่า F2.8 มันละลายสะใจกว่านิดหน่อย แต่ที่ F5.6 ก็ไม่ได้ขี้เหร่นะ)



จากการทดสอบทั้งหมด ที่ทำขึ้นมาก็เพื่อทดสอบให้เห็นว่า ถึงอุปกรณ์เราไม่พร้อม ไม่มีเลนส์ราคาแพงๆ F กว้างๆ หรือ สถานที่ที่เราไปมีข้อจำกัดต่างๆ นาๆ แคบบ้าง ถอยไปแล้วตกเหวบ้างอะไรบ้าง แต่เราก็สามารถใช้ปัจจัยอื่นๆ สร้างสไตล์ภาพชัดลึกหรือว่าชัดตื้นได้เหมือนกันนะ

ฝากไว้ว่า เลนส์ดีๆ มันก็แค่ทำให้จินตนาการของเราเป็นจริงได้ง่ายขึ้นเท่านั้น ถ้าเรายังไม่พร้อมจะลงทุนเพื่อความสะดวกสบาย เราก็ใช้ความรู้ที่มี สร้างสไตล์ภาพตามจินตนาการของเราได้เหมือนกัน ขอให้มีความสุขและสนุกกับการทำให้จินตนาการเป็นจริงนะคะ
290  สารสนเทศน่ารู้ ตลาดสด บันเทิงกระจาย / ภาพและเสียงเพื่อความบันเทิง / แก้เงามืดด้วย Fill Light และ Layer Mask เมื่อ: 18 มกราคม 2556 12:08:35
เวลาไปถ่ายรูปคนย้อนแสงแล้วไม่ได้เอาแฟลช หรือแผ่น Reflex ไป ส่วนใหญ่ถ้าคนไม่มืด ท้องฟ้าก็ขาวจ๋อง มาดูกันว่าเราจะแก้ไขภาพแบบนั้นได้อย่างไร

เราจะใช้โปรแกรม Photoshop และ Camera RAW เพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=Hw67womF5Hc" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=Hw67womF5Hc</a>


นี่คือภาพ Original ที่ไม่ได้ยิงแฟลช หรือ ใช้แผ่น Reflex จะสังเกตุว่าหน้านางแบบก็จะดูมืดๆ เพราะเป็นการถ่ายแบบย้อนแสง เราจะแก้ไขภาพนี้กัน



ภาพนี้ถ่ายมาเป็น RAW ดังนั้นเราต้องดูภาพด้วย Adobe Bridge แล้วเลือกภาพที่ต้องการ



พอดับเบิลคลิกแล้ว โปรแกรม Camera RAW จะถูกเปิดขึ้นมา



จากนั้นเราก็ลาก Fill Light ไปตามที่เราพอใจได้เลย จะสังเกตุว่าหน้านางแบบกลับมาสว่างแล้ว



นี่คือภาพที่ทำการ Fill Light แล้ว จะได้ความสว่างกลับคืนมาสู่หน้านางแบบ



มาดูภาพเปรียบเทียบ ก่อน กับ หลัง Fill Light



แต่ไม่ใช่ว่า Fill Light จะใช้ได้กับทุกภาพ ลองมาดูภาพนี้กัน
ภาพนี้ก็ถ่ายเป็น RAW โดยปัญหาของภาพนี้คือ เมืองด้านหน้ามันดูมืดเกินไป แต่รู้สึกว่าท้องฟ้าพอดีแล้ว



เราลองปรับ Fill Light เพื่อให้เมืองสว่างขึ้น แต่ผลที่ได้คือ ท้องฟ้าก็ดันสว่างขึ้นไปด้วย และดูแป้งๆ



ออกมาเป็นอย่างนี้ เห็นไหมว่าแค่ Fill Light มันไม่พอ



ไม่เป็นไร เราจะแก้ไขกันด้วยการซ้อน Layer...

ก่อนอื่นก็กด Open Image เพื่อเปิดแก้ไขด้วย Photoshop



เริ่มต้นเราก็ต้องทำการ Copy Layer ออกมาก่อน เพื่อทำเป็น 2 Layer โดนวางแผนว่าจะให้ Layer ล่างเป็นเมืองที่แสงพอดี และ Layer บนเป็นท้องฟ้าที่แสงพอดี ดังนั้นเมื่อ Copy Layer เสร็จแล้ว เราก็จะมาปรับ Layer บนด้วยการใช้ Curve



ตอนนี้เรากำลังปรับที่ Layer บนอยู่นะ โดยเราต้องการทำให้ท้องฟ้าดูมืดลง เราก็ปรับ Curve ให้มืดหน่อยตามภาพ



จากนั้นเราก็จะทำการ Mask Layer เพื่อให้ Layer บนแสดงเฉพาะท้องฟ้าที่เราต้องการ โดยเราก็เลือก Layer บน แล้วกด Alt + Click ที่ Add Layer Mask จากนั้นจะได้ตามเบอร์ 2 คือเกิด Mask สีดำๆ ขึ้นที่ Layer ท้องฟ้า โดยตอนนี้ เราจะไม่เห็น Layer ที่เราปรับท้องฟ้าแล้ว เพราะ สีดำหมายถึงปกปิด ดังนั้นตอนนี้เราจะเห็น Layer ล่างเท่านั้น (เพราะ Layer บนตรง Mask ถูกระบายให้เป็นสีดำทั้งหมดอยู่)



เราจะต้องไปเปิดท้องฟ้าของ Layer บนโดยการเลือกสีขาว จากนั้นก็ click ที่ Brush Tool เพื่อละบายสีขาวลงบน Mask ของ layer บน

สีขาวหมายถึงเปิดเผย ถ้าเราระบายสีขาวลงบน Mask ของ Layer บน สีท้องฟ้าที่เราปรับไว้ที่ Layer บนก็จะแสดงขึ้นมา



ระบายไปเลย แต่ระบายแต่ท้องฟ้านะ เห็นไหม ตอนนี้ท้องฟ้าที่เราปรับเอาไว้ที่ Layer บนกำลังแสดงขึ้นมา
ให้เราระบายส่วนของท้องฟ้าให้ครบเลยนะ ผลที่ได้จะได้เหมือนเบอร์ 3



จากที่เห็นว่ามันจะเป็น 2 Layer เราจะ Save เป็น Jpg ไม่ได้ เราเลยต้องไปรวม Layer ด้วยการไปที่ menu Layer => Merge Visible เพื่อทำการรวม Layer ทั้งหมดให้เป็นอันเดียว จากนั้นเราก็จะ Save เป็น Jpg ได้



หลังจากซ้อน Layer เข้าไป เราก็ได้ผลแบบนี้



เปรียบเทียบก่อนซ้อน Layer กับ หลังซ้อน Layer

291  สารสนเทศน่ารู้ ตลาดสด บันเทิงกระจาย / ภาพและเสียงเพื่อความบันเทิง / ถ่ายภาพด้วยโหมด M (Manual) เมื่อ: 18 มกราคม 2556 12:07:46
ถ่ายภาพด้วยโหมด M (Manual)

โหมด M หรือโหมด Manual คือโหมดที่ใครๆ คิดว่ายาก หลายคนไม่อยากใช้มัน หรือบางคนอาจจะอยากรู้ว่ามันเป็นยังไง จะทำให้เราถ่ายรูปได้สวยขึ้นจริงมั้ย วันนี้เราจะมาดูกันค่ะ

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=mveNE6xlgU4" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=mveNE6xlgU4</a>


จริงๆ แล้ว ทุกโหมดมันมีข้อดีข้อเสียของมันนะ แต่แน่นอน มาแนะนำให้ใช้ มันต้องมีข้อดีสิ ก็จะมาแนะนำข้อดีของโหมด M กันค่ะ



ก่อนจะลองใช้อะไรใหม่ๆ เราต้องเกิดปัญหาก่อนถูกปะ ถึงได้หาทางแก้ปัญหา?

ปกติเราถ่ายโหมดอะไรกัน?
โหมด AV (ใน Canon) หรือโหมด A (ใน Nikon) ซึ่งเป็นโหมดที่กำหนดค่ารูรับแสงเอง และกล้องจะคำนวณ Speed Shutter ให้เราเองใช่มั้ยคะ

ซึ่งโหมด AV เนี่ยมันก็มีจุดอ่อนของมันอยู่เหมือนกัน ซึ่งอันนี้เป็น case ที่เราเจอเองกับตัว ขอเล่าให้ฟังแล้วกันค่ะ

ตอนนี้น เราก็ถ่ายเป็นอยู่แต่โหมด AV กับ TV แหละ โหมดอื่นไม่เคยใช้ เราก็ไปรีวิว โรงแรม โนโวเทล เพลินจิต เค้าก็จะเป็นห้องอาหารที่มีหลอดไฟ tungsten (ไฟเหลืองๆ) และมี Station ต่างๆ ที่มีเชฟคอยปรุงอาหารให้เรา



เราก็ใช้โหมด AV ถ่ายไปเรื่อยๆ เชฟก็ใส่ชุดขาวปรุงอาหารให้เราดู ก็ถ่ายไปเรื่อยๆไม่มีปัญหา

ที่นี่เค้าจะมีความพิเศษอยู่ที่เค้าทำพิซซ่าสไตล์อิตาเลี่ยนเองเลย



ดังนั้น พอมันเป็นความพิเศษ เชฟใหญ่ก็เลยออกมาทำพิซซ่าให้เราถ่าย ซึ่งจุดสำคัญคือ เชฟปกติจะใส่เสื้อสีขาว แต่เชฟใหญ่จะใส่เสื้อสีดำ...

พอเค้ามาทำให้เราดู เราก็รีบถ่าย ไม่ได้ชดแสงทางลบอะไรเลย (เพราะชดแสงไม่ทัน) เป็น Event พิเศษ ที่เค้ามาทำพิซซ่าให้ดู ก็รีบเก็บภาพใหญ่เลย



ผลที่ได้คือภาพแบบนี้...

สังเกตว่า Speed Shutter ที่ได้จะช้ามากกว่าปกติ ได้ประมาณ 1/13 หรือ 1/15 เท่านั้นเอง (ปกติจะได้ไม่ต่ำกว่า 1/50)

คำถามเกิดขึ้นมาทันทีว่า... แสงก็ไม่ได้เปลี่ยน ทำไม Speed Shutter ต้องเปลี่ยนด้วย มันเสี่ยงมากที่จะพลาด Moment ดีๆ เพราะพอเรารีบ บางทีเราไม่ได้ดู แล้วต้องคอยชดเชยแสงไปมา เหนื่อยเหมือนกันนะเนี่ย -___-



วันนี้เราเลยจะมาแก้ปัญหาแบบนี้ด้วยโหมด M



โหมด M เหมาะกับสถานะการณ์แบบไหน?
มันเหมาะกับสถานะการณ์ที่ แสงไม่ค่อยเปลี่ยน เราเลย set ค่าแค่ครั้งเดียวแล้วถ่ายไปหลายๆ Shot ได้เลย



ทำไมโหมด M ถึงยาก?



เพราะ ในโหมด M เราจะต้องปรับค่า รูรับแสง, Speed Shutter, ISO เองทั้งหมด ไง

ปรับเองทั้งหมดเลยหรอ? แล้วปรับเท่าไรดี? จะเริ่มต้นยังไงดีละเนี่ย? นี่แหละค่ะ ก็เลยดูเหมือนยาก หลายครั้งเก้าอยากลองพยายามใช้ดู แต่สุดท้าย ก็เลิกล้ม ไปใช้ AV ดีกว่า แต่พอเราเริ่มเรียนรู้มากขึ้น เข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ของ รูรับแสง Speed Shutter และ ISO มากขึ้น ก็เริ่มรู้สึกว่า โหมด M ไม่ได้ยากเกินกว่าจะเข้าใจได้ค่ะ



เอางี้ดีกว่า ถ้าตั้งต้นไม่ถูก เราลองมาเริ่มจากสิ่งที่เรามักจะทำบ่อยๆ คือ เราจะคิดก่อนว่าเราจะใช้อะไรเป็นตัวดีไซน์ภาพของเราในวันนี้ รูรับแสง หรือ Speed Shutter มันมีหลักจำง่ายๆ ค่ะ

เราเน้นอะไร เราก็ set ค่านั้นไปก่อน แล้วค่อย set ค่าอื่นๆตาม

เน้นอะไรคืออะไร?
คือภาพที่เราคิด เราต้องใช้รูรับแสงดีไซน์ภาพ หรือใช้ Speed Shutter ดีไซน์ภาพ (เช่น จะเบลอหลังมากๆ คือใช้รูรับแสงดีไซน์ภาพ ถ้าภาพมันเกี่ยวกับเวลาในการเปิด Shutter เช่น ไฟรถวิ่งยาวๆ หรือ หยุดการเคลื่อนไหวของคน นั่นคือใช้ Speed Shutter ดีไซน์ภาพ)

ถ้าเราใช้รูรับแสงดีไซน์ภาพ เราก็ต้องกำหนดค่ารูรับแสงที่ต้องการก่อน จากนั้นค่อย set ค่าอื่นๆ ตาม
แต่ถ่าเราจะใช้ค่า Speed Shutter ดีไซน์ภาพ เราต้องกำหนดค่า Speed Shutter ที่เราต้องการก่อน จากนั้นค่อย set ค่าอื่นๆ ตาม

สังเกตุว่าหลักการคิดของมันก็ง่ายๆ ค่ะ ค่าอะไรที่ต้องได้ ถ้าไม่ได้จะไม่ได้ภาพสไตล์ที่เราต้องการ นั่นคือเราไม่มีทางเลือก เราต้อง set ค่านั้นอยู่แล้ว เราก็เริ่ม set จากค่านั้นก่อนเลย



ลองมาเริ่มจากการใช้รูรับแสงดีไซน์ภาพก่อนดีกว่าว่ามันมีขั้นตอนอย่างไร

ขั้นตอนตามนี้เลย



เริ่ม ต้องกำหนด ISO 100

ทำไมต้องเริ่มจาก ISO 100?
แน่นอนว่า ไม่มีใครต้องการใช้ ISO สูงๆ ถ่ายภาพหรอก ถ้าไม่จำเป็น เพราะยิ่ง ISO สูง มันก็ยิ่งมี Noise ดังนั้นถ้าเราเลือกได้ เราก็อยากถ่ายที่ ISO 100 ถูกมั้ยคะ ดังนั้น เริ่มต้นจากการ Set ISO ไว้ที่ค่าที่เราอยากได้เลย คือ 100 เนี่ยแหละ อยากได้มากที่สุด



ดีไซน์ภาพด้วยรูรับแสงใช่ไหม? ก็ต้องเอาค่า F เป็นตัวตั้ง
ทำไม? ก็เพราะว่าถ้าไม่ได้ค่ารูรับแสงที่เราต้องการ สไตล์ภาพที่เราต้องการก็ไม่ได้หนะสิ นี่คือค่าที่ไม่ได้ ถือว่า "ไม่ได้" ดังนั้น Fix ไว้เลย



จากนั้นก็ กดปุ่มรูป * หรือ AE Lock ขึ้นมาเพื่อดู Scale วัดแสง ดูทำไม? ดูเพื่อจะได้รู้ว่า ที่ค่าไหน ที่ถือว่า แสงพอดี



อันนี้แหละคือ Scale วัดแสง ถ้ามันวิ่งไปทางลบ คือภาพมืดเกินไป หรือ Under แต่ ถ้ามันวิ่งไปทางบวก คือภาพสว่างเกินไป หรือ Over ถ้าจะให้ แสงพอดีก็ต้องให้อยู่ที่ 0 ตัว Scale วัดแสงนี้แหละค่ะ ที่จะทำให้เราเริ่มไปถูกทางว่า เราควรจะปรับอะไรไปทางไหน



ทำยังไง Scale มันถึงจะมาอยู่ที่ 0 ได้?

ค่าต่อไปที่ไม่เกี่ยวกับสไตล์ภาพที่เราคิดคือค่า Speed Shutter เราก็ลดความเร็วของ Speed Shutter ลง เพื่อให้แสงเข้าได้มากขึ้น เจ้า Scale วัดแสงมันก็จะขึ้นมาทางด้านสว่างมากขึ้น เราก็ลด Speed Shutter ลงเรื่อยๆ จนกว่า Scale วัดแสงมันจะมาอยู่ที่ 0



แล้วถ้า... เราลด Speed Shutter ลงเรื่อยๆ จนเราไม่สามารถถือกล้องให้นิ่งได้หละ ขาตั้งกล้องก็ไม่ได้เอาไป จะทำอย่างไร?

เราก็ต้องมาดูก่อนว่า Speed Shutter ต่ำสุดที่เราสามารถถือได้คือเท่าไร สมมุติว่าเราติดเลนส์ 50 F1.8 อยู่ ทางยาวโฟกัส 50 เราต้องได้ Speed Shutter 1/50 เป็นขั้นต่ำถูกไหม เราถึงจะถือกล้องได้นิ่งพอที่จะถ่ายภาพได้ไม่เบลอ

ดังนั้น เรา Direct to the point ไปเลยดีกว่า ว่าเราไม่อยากเสี่ยงได้ภาพเบลอ เราก็ Set ค่า Speed Shutter ไปที่ 1/50 เลย (คิดยังไงถึง set แบบนี้? เพราะเราไม่มีทางเลือกไง ถ้าไม่ได้ Speed Shutter 1/50 เราไม่สามารถถือถ่ายได้ ดังนั้น ยังไงก็ต้องได้ Speed Shutter ที่ไม่ต่ำกว่า 1/50)

แน่นอนว่า ถ้าเรากดปุ่ม AE Lock เพื่อดู Scale วัดแสงจะเห็นว่า Scale วัดแสงมันออกไปทางมืด หรือ Under เกินไป เราจะทำยังไง Scale วัดแสงมันถึงจะกลับมาที่ 0 ได้อย่างที่เราต้องการ?

เราเหลืออะไรให้ปรับได้อีก? ISO ไงหละ

ดัน ISO ขึ้นไปเพื่อให้ Scale วัดแสงมันขึ้นมาที่ 0 ซะ เท่านั้นก็ถ่ายได้แล้ว



แต่ปัญหายังมีอีกนิดๆ หน่อยๆ คือ พอเราดัน ISO จนได้ จน Scale วัดแสงมาอยู่ที่ แถวๆ 0 น่ะ ลองไปทำดูนะ มันจะไม่มาอยู่ที่ 0 เป๊ะๆ เพราะว่า ISO มันดันเป็น Stop ใช่ปะ 100, 200, 400, 800, 1600, 3200, 6400 มันจะไม่ละเอียดพอ เราดันแล้ว Scale วัดแสง มันวัดว่าสว่างไปนิดหน่อยแบบจิ๊ดเดียว แต่พอลด ISO แล้วมันก็มืดไปหน่อย มืดไปจิ๊ดนึง จะทำไง มันไม่ 0 พอดีเป๊ะๆ?

เราก็ต้องเลือกที่ค่าที่สว่าง แล้วใช้วิธีเพิ่ม Speed Shutter เอาซัก 1 Stop (หรือ 1 กึ๊ก) เพื่อให้แสงเข้าได้น้อยลงหน่อย เราจะได้ค่า Scale วัดแสงมาอยู่ที่ 0 พอดี๊พอดี ลองทำดูนะ

แค่นี้ก็จบขั้นตอนสำหรับการถ่ายด้วยโหมด M โดยใช้การดีไซน์ภาพด้วยรูรับแสงเป็นตัวตั้งแล้ว



แล้วถ่ายอยากใช้ Speed Shutter เป็นตัวดีไซน์ภาพหละ?

ก็ทำขั้นตอนคล้ายๆ การใช้รูรับแสงดีไซน์ภาพนั่นแหละ แค่สลับมาเป็น Speed Shutter ขึ้นก่อน แล้วปรับค่ารูรับแสงตามเท่านั้นเอง

ขั้นตอนก็ตามนี้



ทีนี้เราลองมาวัดประสิทธิภาพของโหมด TV เทียบกับโหมด M กันดีกว่า

ตั้งโจทย์ว่า จะถ่ายภาพหยุดคนซักหน่อย ไม่ให้เกิด Movement มากมาย ก็เลยจะกำหนดว่า ตั้ง Speed Shutter ซัก 1/200 ดีกว่า

ภาพนี้ใช้โหมด TV โดย set ค่า Speed Shutter ไว้ที่ 1/200 ถ่ายมาเปรียบเทียบให้ดูหลายๆ ภาพ

จะเห็นว่า เราจะได้ค่ารูรับแสงไม่เท่ากันซักภาพ
ผลคือ ภาพจะดูมืดบ้าง สว่างบ้าง ไม่เท่ากัน



แต่พอเปลี่ยนมาเป็นโหมด M Fix ค่า Speed Shutter 1/200 Fix ค่ารูรับแสง F1.8 และ Fix ค่า ISO เป็น 3200 สังเกตุว่าถ่ายกี่ครั้งก็ได้ความสว่างเท่าเดิมเลย



บางคนอาจจะมีคำถามว่า ในโหมด M มีปุ่มชดเชยแสงหรือป่าว

คำตอบคือ "ไม่มี"

เพราะอะไร? เอาง่ายๆ การชดเชยแสงคืออะไร มีผลกระทบต่ออะไร?

การชดเชยแสงในโหมด AV จะมีผลกระทบต่อ Speed Shutter นั่นเอง เช่น ถ่าเราไม่ได้ตั้งชดเชยแสง คือปล่อยเอาไว้ที่ 0 เราอาจจะได้ค่า Speed Shutter 1/50 ก็ได้ แต่พอปรับชดเชยแสงไป +3 เราอาจจะได้ค่า Speed Shutter เป็น 1/5 ก็เป็นไปได้

ดังนั้นการชดเชยแสงคือ กล้องมันจะมาเล่นกับเรื่อง Speed Shutter ไง ถ้าชดบวก กล้องมันก็ให้ค่า Speed Shutter ช้าๆ เพื่อให้แสง Over แต่ถ้าชดลบ กล้องมันก็ให้ค่า Speed Shutter เร็วๆ เพื่อให้แสงเข้าได้น้อยๆ ภาพจะได้มืดๆ ติด Under ไง

ดังนั้นพอมาอยู่ในโหมด M ซึ่งเรา set ค่า รูรับแสง, Speed Shutter และ ISO ได้เองทั้งหมด จึงไม่สามารถมีปุ่มชดเชยแสงแบบในโหมด AV หรือ TV ได้



แล้วการล็อกแสงหละ ยังมีอยู่หรือป่าว?

การล็อกแสงคืออะไร มันคือการล็อกค่า รูรับแสง, Speed Shutter, ISO นะ ก็ในโหมด M เรากำหนดทั้ง 3 ค่าเองอยู่แล้ว ก็เหมือนเราล็อกแสงเอาไว้แล้วหละ ดังนั้นการล็อกแสงจึงไม่มีในโหมด M




แล้วเรื่องการวัดแสงหละ ยังมีอยู่หรือป่าว?



เน้นเลยนะ! เน้น! ว่าการวัดแสงมันมีอยู่ 2 ขั้นตอนเพื่อให้ได้คำตอบเป็นความสว่างเทากลาง 18% นะ

1. Function การวัดแสง คือ พวกวัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพ, วัดแสงเฉพาะจุด, วัดแสงเฉลี่ยหนักกลาง เป็นต้น เหล่านี้คือ Function การวัดแสง



2. การคำนวณค่าจากวิธีการวัดแสงในข้อ 1 เพื่อให้ได้คำตอบเป็นความสว่างเทากลาง 18%



แล้วได้เป็นผลลัพธ์คือ ความสว่างระดับเทากลาง 18%



ซึ่งค่าเทากลาง 18% มันก็คือตรงกลางของ Scale วัดแสงที่มีค่าเท่ากับ 0 นั่นเองค่ะ



สรุป การวัดแสงของกล้องมันจะทำงานแบบนี้นะ

1. เลือก Function การวัดแสง เป็นการบอกกล้องว่าจะวัดแสงแค่ area ไหน ถือว่าได้ Input ที่จะเอามาคำนวณ
2. การวัดแสงของกล้อง คือเอา Input จากข้อ 1 มาคำนวณเพื่อให้ได้เป็นค่าความสว่างระดับเทากลาง 18%
3. กล้องแสดงให้เห็นว่าค่าเทากลาง 18% ที่วัดได้อยู่ตรง 0 แล้วตัว Scale ที่วิ่งไปวิ่งมา ก็คือค่าปัจจุบันที่ได้ ถ้าไปทางลบ ก็คือได้ภาพที่มืดกว่าค่าเทากลาง 18% แต่ถ้าไปทางบวก ก็คือได้ภาพที่สว่างกว่าค่าเทากลาง 18%

ดังนั้น การวัดแสงและการชดเชยแสงในโหมด M ยังคงมีอยู่นะ

การชดเชยแสงคืออะไร?

พูดสั้นๆง่ายๆ คือการดู Scale วัดแสงให้มันไปทางบวก (ถ้าถ่ายของขาว) หรือ ไปทางลบ (ถ้าถ่ายของดำ)

ทำไปทำไม? เวลาคุณถ่ายของดำ กล้องมันไม่รู้หรอกว่ามันคือของดำ มันจะนึกว่าเป็นความมืด มันก็เลยให้ค่า Scale วัดแสงออกมาในทาง Under ดังนั้น กล้องไม่รู้แต่คุณรู้ คุณเลยต้องช่วยกล้อง ก็ถ่ายถ่ายของดำ คุณก็ต้องให้ Scale วัดแสงมันวิ่งไปทางลบ หรือ under นั่นเอง เพื่อให้ของดำ ดำจริง ส่วนของขาวก็ตรงข้ามกับของดำ คุณก็ต้องให้ Scale วัดแสงมันวิ่งไปทางบวก เพื่อให้ของขาว ขาวจริง

แล้วจะปรับชดเชยแสงที่ปุ่มไหนหละ?

ถ้าดีไซน์ภาพด้วยรูรับแสง ก็ไปปรับที่ Speed Shutter ถ้าให้ Speed Shutter เร็วขึ้น แสงก็เข้าน้อยลง นั่นคือการชดลบแล้ว แต่ถ้าทำให้ Speed Shutter ช้าลง แสงก็เข้ามากขึ้น นั่นคือการชดบวกนั่นเอง



ส่วนการดีไซน์ภาพด้วย Speed Shutter ก็เหมือนกัน การปรับรูรับแสงให้แคบลง แสงก็เข้าน้อยลง นั่นคือการชดลบ แต่ถ้าปรับ Speed Shutter ให้กว้างขึ้น แสงก็เข้ามากขึ้น นั่นคือการชดบวก ถ้าเปิดรูรับแสงกว้างที่สุดแล้วยังไม่บวก ก็ไปดัน ISO เพิ่มเอา

จบแล้วสำหรับโหมด M

มันอาจจะดูแล้วยุ่งยาก แต่เชื่อเหอะ ถ้าฝึกใช้ และใช้มันบ่อยๆ ก็จะทำได้โดยอัตโนมัติเองแหละ

แต่ถึงบอกว่าให้ลองฝึก ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องใช้โหมด M ไปซะทุกสถานการณ์นะ อย่าลืมว่าทุกโหมดมันมีจุดดีจุดด้อยต่างกัน ถ้าเจอสถานการณ์ที่รีบๆ แสงเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ต้องปรับรูรับแสงไปๆมาๆ อันนี้เล่นโหมด AV ดีกว่า แต่ถ้าเจอสถานการณ์ที่แสงไม่ได้เปลี่ยน อันนี้เล่นโหมด M จะง่ายกว่า AV ค่ะ

ใช้ประโยชน์จากโหมดต่างๆ ในกล้องให้ได้เต็มที่ อย่ายึดติดว่าต้อง M เท่านั้นชั้นถึงจะเป็นเทพ อย่าให้การ set กล้องมันมาทำให้ความสนุกของการถ่ายภาพหมดลงไปนะจ๊ะ

รักนะ ชุบุ อิอิ
292  สารสนเทศน่ารู้ ตลาดสด บันเทิงกระจาย / ภาพและเสียงเพื่อความบันเทิง / ดูนุ่มๆๆ เมื่อ: 18 มกราคม 2556 12:06:20
ถึงไม่ใช่จักรยาน bmx แต่ก็โชว์เทพๆได้

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=yeROx1kTiIA" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=yeROx1kTiIA</a>
293  สารสนเทศน่ารู้ ตลาดสด บันเทิงกระจาย / ภาพและเสียงเพื่อความบันเทิง / เพลงหยังกะได้ ของแท้ ต้นฉบับ เมื่อ: 18 มกราคม 2556 12:05:29
เพลงหยังกะได้ โดยมหา (ของแท้ ก๊อปได้ๆๆ)

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=O52nMnD4LXM" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=O52nMnD4LXM</a>


เพลงหยังกะได้-เอกพล มนต์ตระการ (ต้นฉบับ ของคนอื่นยังไม่แท้)
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=NsZ0CADri9o" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=NsZ0CADri9o</a>
294  สารสนเทศน่ารู้ ตลาดสด บันเทิงกระจาย / ภาพและเสียงเพื่อความบันเทิง / ชาวบ้านขุดเจอทอง2กิโลพร้อมสมบัติล้ำค่าโบราณ เมื่อ: 18 มกราคม 2556 12:04:31
ชาวบ้านขุดเจอทอง2กิโลพร้อมสมบัติล้ำค่าโบราณ
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=s_3ZzEvLd5g" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=s_3ZzEvLd5g</a>
295  สารสนเทศน่ารู้ ตลาดสด บันเทิงกระจาย / ภาพและเสียงเพื่อความบันเทิง / The Transistor Radio รักเก่าที่บ้านเกิด(ธรรมชาติสวยมาก) เมื่อ: 18 มกราคม 2556 12:03:36
The Transistor Radio รักเก่าที่บ้านเกิด
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=F5ZlRnUpt_c" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=F5ZlRnUpt_c</a>


มีคนบอกว่า
อ้างถึง
ถ่ายอยู่ภูเวียงแม่นบ่ครับนิ บ้านโนนอุดม พัทยา 2 แล้วกะ บขส.ภูเวียง ผมจำได้บ้านผม
ต้องไปจัดสักวัน
296  สารสนเทศน่ารู้ ตลาดสด บันเทิงกระจาย / ภาพและเสียงเพื่อความบันเทิง / Re: รวมกุมารทุ่งเอาไว้ฟังคนเดียว เมื่อ: 18 มกราคม 2556 12:02:44
ความจริงใจบ่ได้ช่วยอ้ายเลย
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=ZOyilmXX2DU" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=ZOyilmXX2DU</a>



ตรงไหนก็ได้ในใจเธอ ศักดา คำพิมูล
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=smu1cfFpS_A" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=smu1cfFpS_A</a>
297  สารสนเทศน่ารู้ ตลาดสด บันเทิงกระจาย / ภาพและเสียงเพื่อความบันเทิง / Re: รวมกุมารทุ่งเอาไว้ฟังคนเดียว เมื่อ: 18 มกราคม 2556 12:01:37
ฝันอีกครึ่งต้องพึ่งเธอ
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=VpYn4KqvhSQ" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=VpYn4KqvhSQ</a>



ริมฝั่งหนองหาน มนต์แคน แก่นคูน
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=JvLkMYGB9IA" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=JvLkMYGB9IA</a>

298  สารสนเทศน่ารู้ ตลาดสด บันเทิงกระจาย / ภาพและเสียงเพื่อความบันเทิง / รวมกุมารทุ่งเอาไว้ฟังคนเดียว เมื่อ: 18 มกราคม 2556 12:00:40
MV เพลง เอาหยังเฮ็ดใจ - แมน มณีวรรณ
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=4nhObC7k7VQ" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=4nhObC7k7VQ</a>
*มาเมื่อไหร่ก็ต้องเพลงนี้เลย



หนุ่ม น.ป.ข. - ไผ่ พงศธร [Official MV]
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=I7OFuSvqC7s" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=I7OFuSvqC7s</a>



ตรงนั้นคือหน้าที่ ตรงนี้คือหัวใจ
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=xCrcgbo1CpA" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=xCrcgbo1CpA</a>



ร้องไห้ใกล้หนองหาน - ต่าย อรทัย [SCOOP + MV]
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=bXdfEhxPhbA" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=bXdfEhxPhbA</a>



คนแรกที่ทำให้รัก-ไผ่ พงศธร
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=N2zwINqCSOo" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=N2zwINqCSOo</a>



โรงงานปิดคิดฮอดน้อง มนต์แคน แก่นคูณ
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=dYGS_5DNyyo" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=dYGS_5DNyyo</a>



น้ำตาอีกแบบหนึ่ง - มนต์แคน
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=5UVNR5vxk2U" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=5UVNR5vxk2U</a>
299  ขายที่ดิน / ที่ดิน(ทั่วไป) / วังน้ำเขียวจากเวปตากล้อง เมื่อ: 18 มกราคม 2556 11:56:28
วังน้ำเขียวจากเวปตากล้อง














































































































































ตอบตอบ ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
300  ขายที่ดิน / ที่ดิน(ทั่วไป) / ซึมซาบบรรยากาศวังน้ำเขียวด้วยภาพ เมื่อ: 18 มกราคม 2556 11:53:00
ซึมซาบบรรยากาศวังน้ำเขียวด้วยภาพ


 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ตอบตอบ ตอบโดยอ้างถึงข้อความอ้างถึง
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21

:: ข้อตกลงร่วมกัน ::
ห้ามโพสต์รูปลามก หรือสิ่งผิดกฏหมายทุกประเภท
ห้ามโพสต์ข้อความที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ห้ามใช้วาจาไม่สุภาพ หรือด่าทอ ข้อความหรือเนื้อหาที่เกิดขึ้น ผู้โพสต์ต้องเป็นคนรับผิดชอบเท่านั้น หากเราตรวจสอบว่ามีการโพสต์รูปลามก หรือทำสิ่งผิดกฎหมาย
เราจะลบโพสต์ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า




คลิกที่นี่ -->> จัดพระของขวัญเข้ารุ่นและพิมพ์

Powered by SMF | SMF © 2011, Simple Machines | Sitemap | Cityscape design by Bloc | XHTML | CSS
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.496 วินาที กับ 22 คำสั่ง